Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ นักวิจัยไทย-จีน ร่วมพัฒนา “อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศ” ในภารกิจยานฉางเอ๋อ 7 ปี 2569

นักวิจัยไทย-จีน ร่วมพัฒนา “อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศ” ในภารกิจยานฉางเอ๋อ 7 ปี 2569

15 second read
0
0
311

ไทยมีความร่วมมือกับจีนในการศึกษาวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสำรวจอวกาศ หลายโครงการ โดยในปีที่ผ่านมา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) และศูนย์ปฏิบัติการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศเชิงลึก (DSEL) องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration: CNSA) ร่วมลงนามความร่วมมือในโครงการสถานีวิจัยนานาชาติบนดวงจันทร์ (ILRS) ระหว่างไทย และจีน เพื่อพัฒนา “อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศ”

จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุ ว่า เมื่อเดือนเมษายน 2566 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล เสนอโครงการการพัฒนาอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และวิจัย (playload) เพื่อรองรับภารกิจการสำรวจอวกาศของยานฉางเอ๋อ 7 เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศ ชื่อว่า Moon Aiming Thai-Chinese Hodoscope หรือ “MATCH” สำหรับตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูง ได้แก่ อิเล็กตรอน และโปรตรอน ภายใต้รังสีคอสมิกในอวกาศ และศึกษาผลกระทบระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ จากอนุภาคที่ตรวจวัดได้ โดยโครงการนี้ได้รับการคัดเลือก ให้เป็น 1 ใน 7 อุปกรณ์ที่จะติดตั้งไปสำรวจดวงจันทร์ กับยานฉางเอ๋อ 7 ภายใน ปี 2569 ภายใต้โครงการจัดตั้งสถานีวิจัยนานาชาติ บนดวงจันทร์ของจีน (International Lunar Research Station) ขององค์การอวกาศแห่งชาติจีน

ทีมพัฒนาโครงการพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศนี้ ประกอบด้วยทีมพัฒนาฝ่ายไทย 22 คน และทีมพัฒนาฝ่ายจีน 7 คน โดยอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศจะติดตั้งกับยานโคจรรอบดวงจันทร์ (lunar obiter) ในภารกิจฉางเอ๋อ 7 ซึ่งจะโคจรที่ระดับความสูง 200 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์

อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศนี้ มีน้ำหนักประมาณ 4,900 กรัม มีขนาดกว้าง 130 ยาว 110 สูง 250 มิลลิเมตร ประกอบด้วย ตัวตรวจวัดซิลิกอน 7 ชั้น เพื่อจำแนกอัตลักษณ์ของอนุภาคพลังงานสูง แต่ละชนิด ทิศทางของอนุภาคมีประจุ และอิทธิพลของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ ที่มีต่ออนุภาคเหล่านี้ เพื่อให้ได้องค์ความรู้นำมาต่อยอด ในการพัฒนาระบบแจ้งตือนภัยด้านสภาพอวกาศ ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น และสามารถต่อยอด ไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์วิจัยวิทยาศาสตร์รังสี ภาคพื้น เครื่องมือวัดเชิงรังสีทางการแพทย์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค ต่อไป

นอกจากโครงการนี้ นักวิจัยไทยและจีนยังมีความร่วมมือในการศึกษาวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ อีกหลายโครงการ โดย ไทย มีแผนจะนำชิ้นส่วนบางส่วน ลงไปยังพื้นผิวดวงจันทร์ พร้อมกับยานสำรวจของจีน ภายใน 5 ปี ข้างหน้า หรือ ภายในปี 2571 อีกด้วย

ความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ในโครงการนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญ ในการร่วมพัฒนาองค์ความรู้ กับทีมวิจัยของจีน ที่ประสบความสำเร็จด้านเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศ ในหลายภารกิจ เป็นการยกระดับขีดความสามารถของนักวิจัย และวิศวกรไทย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศ ต่อไป

บทความ/ภาพ : ประวีณมัย บ่ายคล้อย

ข้อมูล : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 26  กรกฎาคม 2567  02:11:59 เข้าชม : 1796852 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

Boonlapo and Pasticceria Cova Montenapoleone Host Contract Signing Ceremony to Introduce Premium Italian Pastry Experience to Southeast Asia

Bangkok, October 30, 2024 — Boonlapo Company Limited an … …