Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์ ความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เรียก ว่า “ทฤษฎีกำลังการผลิตล้นเกินของจีน” คืออะไร ?

บทวิเคราะห์ ความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เรียก ว่า “ทฤษฎีกำลังการผลิตล้นเกินของจีน” คืออะไร ?

2 second read
0
0
347

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักการเมืองบางคน และสื่อมวลชนบางแห่ง ของชาติตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาได้ประโคมข่าวสิ่งที่เรียก ว่า “ทฤษฎีกำลังการผลิตล้นเกินของจีน” อีกครั้ง ทั้งยังพยายามขยายขอบเขตการโจมตีจากอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ของจีน ไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ มากขึ้น และใส่ร้ายป้ายสีจีน ว่า “กำลังการผลิตที่ล้นเกินของจีนส่งผลกระทบร้ายแรงต่อตลาดโลก” แต่ความจริงคืออะไรกันแน่ ?

ตลอดหลายร้อยปี ที่ผ่านมา มีการพัฒนาทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง ข้อได้เปรียบ และการแบ่งงานระหว่างประเทศ ได้ค่อย ๆ กลายเป็นพื้นฐานของการค้าระหว่างประเทศสมัยใหม่ และในทางปฏิบัติยังมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้ง ต่อนโยบาย และข้อเสนอของรัฐบาลต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง กระตุ้นให้ประเทศ และวิสาหกิจจำนวนมากยิ่งขึ้น เข้าร่วม ในการแบ่งงานอุตสาหกรรม ระดับโลก และการค้าข้ามพรมแดน

หากมองในแง่วัฏจักรการพัฒนาอุตสาหกรรม อุปทานส่วนเกินที่เกิดขึ้นชั่วคราว ในอุตสาหกรรมเกิดใหม่นั้น ไม่สามารถถือเป็นกำลังการผลิตล้นเกิน ได้กำลังการผลิตล้นเกิน ในระดับที่เหมาะสมนั้น ไม่ได้ หมายความว่า มีการผลิตมากเกินไปแล้ว และก็ไม่ได้หมายถึงการทุ่มตลาด หากมองในแง่หลักเศรษฐศาสตร์การตลาด หลักการในการประเมินกำลังการผลิตส่วนเกินนั้น ควรพิจารณาจากอุปสงค์โดยรวมของทั่วโลก หากมองในแง่แนวปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศ การด่วนสรุปให้อุตสาหกรรมที่มีปริมาณการส่งออกมาก เป็นอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตล้นเกิน นั้น ขัดต่อหลักการพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ เพราะทุกประเทศต่างก็ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ที่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมีความได้เปรียบสู่ตลาดโลก ในปี ค.ศ.2023 รถยนต์ที่ผลิตในเยอรมันประมาณร้อยละ 80 และรถยนต์ที่ผลิตในญี่ปุ่นร้อยละ 50 จำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศ ในขณะที่ปัจจุบันรถยนต์พลังงานใหม่ของจีนที่จำหน่ายไปยังต่างประเทศมีเพียงประมาณร้อยละ 12.7 เท่านั้น กำลังการผลิตล้นเกินมักหมายถึง กำลังการผลิตของอุตสาหกรรม สาขาใด สาขาหนึ่ง ที่มีมากกว่าความต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีอุปทานส่วนเกินอย่างเห็นได้ชัด และราคาลดลงอย่างมากด้วย

ดังนั้น หาก “ทฤษฎีกำลังการผลิตล้นเกินของจีน” เป็นจริงก็หมายความว่า ไม่ว่า ประเทศใดก็ตามต่างก็ไม่ควรผลิตสินค้าเกินความต้องการ ภายในประเทศของตน เหตุใดก่อนหน้านึ้ จึงไม่มีใครกล่าวหาเยอรมนี และญี่ปุ่น ว่า มีกำลังการผลิตล้นเกิน ในการผลิตรถยนต์เล่า ? บริษัทโบอิ้งของสหรัฐอเมริกา ควรลดการผลิตหรือไม่? ควรจำกัดการผลิตถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ? แน่นอนว่ามันไม่ยุติธรรม และไม่มีเหตุผลที่จะกำหนดให้อุตสาหกรรม ที่ได้เปรียบของประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณการส่งออกมากว่าเป็นกำลังการผลิตที่มากเกินไป

มีผู้กล่าวหาว่ารัฐบาลจีน ดำเนินนโยบายอุดหนุนในด้านต่าง ๆ เช่นรถยนต์พลังงานใหม่ แต่การอุดหนุนของจีน “ไม่เป็นไปตามกติกา” จริงหรือ? จนถึงต้นเดือนสิงหาคมปีนี้ มีคดีทั้งหมด 139 คดี ภายใต้ “ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้” ขององค์การการค้าโลก ในจำนวนนี้ สหรัฐอเมริกาถูกกล่าวหา 44 ครั้ง และสหภาพยุโรปถูกกล่าวหา 22 ครั้ง ซึ่งต่างก็มากกว่าจีนอย่างชัดเจน

จีน ให้เงินอุดหนุนแก่รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากกว่าประเทศอื่นหรือไม่ ? สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ เปิดเผย ในรายงานการคาดการณ์ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าทั่วโลก ประจำปี ค.ศ. 2024 ว่า ปัจจุบันฝรั่งเศสให้เงินอุดหนุน สูงถึง 4,000 ยูโรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาต่ำกว่า 47,000 ยูโร และครอบครัวที่มีรายได้น้อยยังสามารถได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติม สูงถึง 3,000 ยูโร “กฎหมายว่าด้วยการลดภาวะเงินเฟ้อ”ของสหรัฐอเมริกาใช้ประเด็นการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อเป็นข้ออ้าง วางแผนที่จะใช้มาตรการจูงใจจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการให้เงินอุดหนุนในระดับสูง เพื่อส่งเสริมการผลิตและการประยุกต์ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีสีเขียวอื่น ๆในสหรัฐอเมริกา เท่าที่ทราบขนาดค่าใช้จ่ายทางการคลังทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในช่วงสิบปีของโครงการนี้มีมูลค่าสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

น่าเสียใจ ที่ด้านหนึ่งสหรัฐอเมริกา และชาติตะวันตก กล่าวหา ว่า การอุดหนุนทางอุตสาหกรรมของจีน เป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ด้วยการตั้งราคาที่ต่ำ ในทางกลับกันพวกเขาถือว่า การให้เงินอุดหนุนโดยรัฐบาลของตน เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมคุณภาพสูง ด้านหนึ่งกล่าวหาว่าการที่สินค้าจีนได้รับความนิยมในตลาดโลก โดยพึ่งพาความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี และต้นทุน นั้น เป็นการทุ่มตลาด ในทางกลับกันความนิยมสินค้าที่ได้เปรียบของตนในตลาดต่างประเทศ กลับเรียกว่า เป็นผลจากการค้าเสรี ด้านหนึ่งกล่าวว่า ความยากลำบากในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ในปัจจุบันเกิดจากการขาดกําลังการผลิตพลังงานใหม่ แต่ในทางกลับกันกลับตําหนิพลังงานใหม่ของจีนว่ามี ‘กําลังการผลิตล้นเกิน’”

นักสังเกตการณ์ ชี้ ให้เห็นว่า เหตุผลพื้นฐานที่สหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกพากันผสมโรง “ทฤษฎีกําลังการผลิตล้นเกินของจีน” คือ พวกเขาหวั่นวิตกการพัฒนาของ ‘ประเทศตลาดเกิดใหม่’ ในด้านอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ และสาขาอื่น ๆ  จึงพยายามที่จะยับยั้งการพัฒนาของประเทศอื่น ด้วยวิธีการที่ไม่ชอบธรรม โดยมีจุดประสงค์หลักคือ เพื่อสร้างบรรยากาศ สําหรับการออกมาตรการจํากัดทางการค้าต่าง ๆ กับจีนเพื่อดำเนินลัทธิกีดกันทางการค้าด้วยข้ออ้าง “ป้องกันไม่ให้กําลังการผลิตส่วนเกินของจีน ส่งผลกระทบตลาดโลก” การกระทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่ขัดขวางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของทั่วโลก สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของผู้บริโภคทั่วโลก และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก เท่านั้น แต่ยังบ่อนทําลายสถานการณ์โดยรวม ของสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกอื่น ๆ ในการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียว และความร่วมมือระดับโลก เกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกด้วย

เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : พุธ 11 กันยายน 2567  15:47:59 เข้าชม : 1897522 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

ครอบครัว ณ ระนอง- บริษัทในเครือเพิร์ล บริจาคเงิน จำนวน 10 ล้านบาท สมทบทุน สร้าง “อาคารศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต”

วันนี้ (วันที่ 29 ธ.ค. 67) ครอบครัว ณ ระนอง และ บริษัทใ … …