Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์  จีน ยกระดับการพัฒนาสีเขียว อย่างต่อเนื่อง

บทวิเคราะห์  จีน ยกระดับการพัฒนาสีเขียว อย่างต่อเนื่อง

5 second read
0
0
351

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา จีน ได้ออก “ข้อคิดเห็น ว่าด้วยการเร่งเปลี่ยนผ่าน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสู่สีเขียวทุกด้าน” (ต่อไปจะเรียกย่อว่า “ข้อคิดเห็น”) นี่นับเป็นครั้งแรกที่ส่วนกลางจีน วางแผนอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับการเร่งเปลี่ยนผ่าน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสู่สีเขียว ทุกด้าน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ และปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมของจีน ในการยกระดับการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง

ในโลกปัจจุบัน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้กลายเป็นฉันทามติของทั่วโลก และการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำเป็นหนทางที่มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ทว่าในกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงาน นั้น ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ข้อจำกัดด้านทรัพยากร ความพร้อมทางเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกด้านอุตสาหกรรม ฯลฯ ทำให้แต่ละประเทศ มีความแตกต่างกันทั้งในแง่ของความเร็ว และความเข้มข้น ในการขับเคลื่อนให้เกิดความต่อเนื่อง ตลอดจนความมั่นคงของนโยบายสีเขียว แถมบางประเทศ ก็เกิดความถดถอยด้วยซ้ำ จีน ได้วางแผนจากแง่มุมต่าง ๆ เช่น ยุทธศาสตร์ นโยบาย เทคโนโลยี อุตสาหกรรม การบริโภค เป็นต้น เมื่อหลายปีก่อน ได้ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียว อย่างต่อเนื่อง จนประสบผลสำเร็จเป็นประวัติศาสตร์ โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2024  ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของพลังงานทดแทนสูงถึง 1,653 ล้านกิโลวัตต์ คิดเป็น 53.8 % ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด โครงสร้างอุตสาหกรรมได้รับการอัปเกรดอย่างต่อเนื่อง จนก่อรูปขึ้นเป็นห่วงโซ่อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ที่ใหญ่ที่สุดและสมบูรณ์ที่สุดในโลก ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรยกระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในปี ค.ศ. 2023 ปริมาณการใช้พลังงานและความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ลดลง มากกว่า 26 % และ 35 % ตามลำดับเมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2012 โดยอัตราผลผลิตของทรัพยากรหลักเพิ่มขึ้น มากกว่า 60 % คุณภาพสิ่งแวดล้อมในจีน ก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีท้องฟ้าสีคราม ภูเขาเขียวขจี และน้ำใสสะอาดมากยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวของจีน ยังคงเผชิญกับความท้าทาย และความยากลำบากอยู่ไม่น้อย ตัวอย่างเช่น สัดส่วนของพลังงานฟอสซิล และอุตสาหกรรมดั้งเดิม ยังคงอยู่ในระดับสูง และรากฐานที่คุณภาพระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมพัฒนาดียิ่งขึ้น อย่างมั่นคง นั้น ยังไม่แข็งแกร่งเพียงพอ

“ข้อคิดเห็น” ที่กล่าวมาข้างต้นได้เสนอเป้าหมายหลายประการ เช่น ภายในปีค.ศ. 2030 ขนาดของอุตสาหกรรมที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะสูงถึงประมาณ 15 ล้านล้านหยวน สัดส่วนการใช้พลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิล จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 25 % ยอดการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย ที่มีปริมาณมากต่อปีจะสูงถึงประมาณ 4,500 ล้านตัน เป็นต้น

“ข้อคิดเห็น” ได้วางแผนเพื่อเร่งให้เกิดโครงสร้างเชิงพื้นที่ โครงสร้างอุตสาหกรรม รูปแบบการผลิต และวิถีชีวิตที่อนุรักษ์ทรัพยากร และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นไปที่ 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ การสร้างรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คาร์บอนต่ำและมีคุณภาพสูง เร่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำอย่างต่อนื่อง ส่งเสริมการคมนาคมขนส่งสีเขียว และส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียว ของการพัฒนาเมือง และชนบท ตลอดจนมุ่งเน้นไปที่ 3 ห่วงโซ่หลัก ได้แก่ ดำเนินยุทธศาสตร์แห่งการประหยัดในทุกด้าน ส่งเสริมการเปลี่ยนรูปแบบการบริโภค ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และขยายบทบาทเชิงเสาหลัก ของวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

“ข้อคิดเห็น” ยังได้วางแผนด้านการคลังและภาษี การระดมเงินทุน การลงทุน ราคา การตลาด ระบบมาตรฐาน ฯลฯ เพื่อปรับปรุงระบบนโยบาย การเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียว ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

รายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ ชี้ให้เห็น ว่า ในปี ค.ศ. 2023 กำลังการผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนใหม่ของโลกอยู่ที่ 510 ล้านกิโลวัตต์ โดยจีนมีส่วนสนับสนุนมากกว่าครึ่ง ซึ่งถือเป็นการสร้างคุณูปการอย่างยิ่งใหญ่ ต่อการเติบโตของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าพลังงานลม และผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ของจีน ส่งออกไปยังกว่า 200 ประเทศ และภูมิภาคทั่วโลก ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากกมายได้ใช้พลังงานที่สะอาด เชื่อถือได้ และราคาไม่แพง รายงานของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่า ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ต้นทุนไฟฟ้าที่ปรับระดับ (Levelized Cost of Energy:LCOE) เฉลี่ยของโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลม และแผงโซลาร์เซลล์ทั่วโลกลดลงมากกว่า 60% และ 80% ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากนวัตกรรม การผลิต และวิศวกรรมของจีน

ผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนสู่สีเขียวทุกด้านนั้น ถือเป็นการปฏิวัติระบบนิเวศ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างลึกซึ้ง และยาวไกลต่อสังคมมนุษย์ ภาคปฏิบัติขนาดใหญ่พิเศษของจีนในการกำหนดยุทธศาสตร์ การออกแบบนโยบาย การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การจัดสรรทรัพยากร และการขับเคลื่อนทางสังคม ฯลฯ ได้สั่งสมประสบการณ์อันมีค่า สำหรับประเทศอื่น ๆ ในการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำซึ่งมีบทบาทในการสาธิตที่เป็นการสร้างสรรค์ให้เห็นถึง “ความสามารถในการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ของจีนจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้ทรงคุณอันประเสริฐต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานของทั่วโลก” เมื่อเร็ว ๆ นี้ ประเทศพัฒนาบางประเทศได้ใช้สิ่งที่เรียกว่า “กำลังการผลิตล้นเกิน” เป็นข้ออ้างในการใส่ร้ายป้ายสี กดดันและยับยั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีพลังงานใหม่ของจีน การไม่มองการณ์ไกลและใจแคบของพวกเขาเป็นสิ่งที่น่าเสียใจ ในขณะที่การเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวทุกด้านเร่งฝีก้าวขึ้น จีน ย่อมจะอัดฉีดแรงผลักดันใหม่อันแข็งแกร่ง อย่างต่อเนื่องให้กับการพัฒนาสีเขียวของทั่วโลก อย่างแน่นอน

เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 16 สิงหาคม 2567  17:47:59 เข้าชม : 1895366 ครั้ง

ใบแทรก ตรวจล็อตเตอรี่ งวดประจำวันที่ 16 สิงหาคม 2567

#ตรวจหวยงวดนี้ #ผลหวย #ตรวจล็อตเตอร์รี่

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

ข่าวบริจาค โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต วันที่ 14 มกราคม 2568

คุณบุญญา บวนภิรมย์ และลูกๆ บริจาคเงิน จำนวน 100,000 บาท … …