Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์ : จีน สร้างความสมดุล ระหว่าง การเติบโตทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทวิเคราะห์ : จีน สร้างความสมดุล ระหว่าง การเติบโตทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 second read
0
0
325

“เพียงลมเบา ๆ ก็ทำให้ลืมตาได้ยาก หากลมแรงฝังคนได้ทั้งเป็น” นี่คือ คำพูดที่ครั้งหนึ่ง เคยแพร่หลายในอำเภอเติ้งโข่ว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นทรายทางตอนเหนือของจีน แต่ปัจจุบันแทบจะไม่มีใครกล่าว เช่นนี้อีก ทั้งนี้เป็นเพราะความสำเร็จในการบริหารจัดการระบบนิเวศของจีน ในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา

ตามข้อมูลที่เผยแพร่ โดย สำนักงาน ป่าไม้และทุ่งหญ้าแห่งชาติจีน ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา สภาพแวดล้อม และระบบนิเวศในพื้นที่ที่เป็นทรายของจีน ได้รับการปรับปรุงดีขึ้น นำมาซึ่งการป้องกันพื้นที่เพาะปลูก ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมป่าไม้และผลไม้ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ภายใต้ปฏิบัติการป้องกันดินกลายเป็นทรายและการขจัดพื้นที่ที่เป็นทราย จีน ได้ค้นพบหนทางแห่งการบริหารจัดการที่ “ทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความเจริญรุ่งเรืองด้วย”

รายงานล่าสุดที่เผยแพร่ โดย “เครือข่ายนโยบายพลังงานทดแทนแห่งศตวรรษที่ 21” ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นว่า จีนเป็น “ประเทศเดียวที่สัดส่วนการใช้ไฟฟ้า ในการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง”

ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็น ว่า จีนสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปี มากกว่า 6 % โดยมีอัตราการเติบโตของการใช้พลังงานเฉลี่ยต่อปีที่ 3 % ขณะเดียวกันสามารถทำให้ปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Energy Consumption per Unit of GDP) ลดลงถึง 26.8 % และปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลดลงมากกว่า 35 %

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปจากประชาคมระหว่างประเทศว่าหลายปี ที่ผ่านมา จีน ในฐานะเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนในการแก้ปัญหาทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศมาโดยตลอด ได้ค้นพบหนทางแห่งการสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างน่าทึ่ง

การพัฒนาสีเขียว เป็นรูปแบบการผลิตสมัยใหม่ ที่มีการใช้พลังงานน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง เกี่ยวพันถึงทุกสาขาอาชีพ ไม่เพียงแต่ต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ อย่างกว้างขวาง ในอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น เหล็กและเหล็กกล้า โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก อุตสาหกรรมเบา เป็นต้นเท่านั้น แต่ยังต้องครอบคลุมอุตสาหกรรมเกิดใหม่ในเชิงลึก เช่น สารสนเทศและการสื่อสาร การผลิตทางชีวภาพ ยานพาหนะพลังงานใหม่ ฯลฯ อีกด้วย เพื่อส่งเสริมความทันสมัยของการผลิต และความเป็นอิจฉริยะทางอุตสาหกรรม

ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน ไปจนถึงการคมนาคมขนส่งและชีวิตประจำวัน จีนกำลังเพิ่มการพัฒนาสีเขียวขนาดใหญ่ในหลากหลายสาขา และได้ค่อยๆ สร้างระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และระบบการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจรตั้งแต่วัตถุดิบพื้นฐานไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้าย

ปัจจุบัน เกือบครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ทั่วโลกอยู่ในจีนและหนึ่งในสี่ของพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นใหม่ของโลกก็มาจากประเทศจีน ณ สิ้นปี 2023 กำลังการผลิตติดตั้งพลังงานลมและเซลล์แสงอาทิตย์สะสมของจีนสูงถึง 1,050 ล้านกิโลวัตต์ คิดเป็น 40% ของกำลังการผลิตติดตั้งพลังงานใหม่ทั้งหมดของโลก จีนมียอดขายรถยนต์พลังงานใหม่เกือบ 9.5 ล้านคัน ซึ่งครองอันดับหนึ่งของโลกเก้าปีติดต่อกัน ในปี ค.ศ. 2023 กำลังการผลิตติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นใหม่ทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในจีน และการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมในจีนครองสัดส่วนมากกว่า 60% ของทั่วโลก

ผลิตภัณฑ์ และบริการสีเขียว คาร์บอนต่ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนับวันได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นจากผู้บริโภคชาวจีน ตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยานพาหนะพลังงานใหม่ ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างประหยัดพลังงานและการบริโภคสีเขียวกำลังกลายเป็นแรงผลักดันใหม่ให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ไม่เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการบริโภคและโครงสร้างทางอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังได้ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ข้อมูลแสดงให้เห็น ว่า นับถึงปัจจุบันจีนได้ปลูกฝังและสร้างโรงงานสีเขียว 3,657 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว 270 แห่ง วิสาหกิจห่วงโซ่อุปทานสีเขียว 408 แห่ง และส่งเสริมการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกือบ 30,000 รายการ

ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม ปีนี้ ปริมาณการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าสีเขียวของจีนสูงถึง 187,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้น 327% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หากมองจากแง่รายอุตสาหกรรม ผู้บริโภคหลักของพลังงานสีเขียวครอบคลุมถึงด้านต่างๆ เช่น พลังงาน โทรคมนาคม ปิโตรเคมี เหล็กและเหล็กกล้า เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และสาขาอื่น ๆ ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานสีเขียวในบรรดาผู้ประกอบการประเภทต่างๆ ในจีนกำลังค่อยๆ เพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวและคาร์บอนต่ำด้านพลังงานกำลังเร่งเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ หนังสืมพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ตีพิมพ์บทความ ว่า “การพัฒนาที่เฟื่องฟูของอุตสาหกรรมสีเขียว ถือเป็นหนึ่งใน ‘เรื่องราวของจีน’ อย่างแน่นอน”

เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 21 มิถุนายน 2567  13:46:59 เข้าชม : 1897641 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

อบจ.ภูเก็ต ประชุม คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2568

เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2568  ที่ผ่านมา นายอัครวัฒน์ ศิริธ … …