กรุงเทพฯ 14 สิงหาคม 2567 – ดรุคแอร์ (Drukair) หรือ รอยัลภูฏานแอร์ไลน์ (Royal Bhutan Airline)สายการบินประจำชาติของราชอาณาจักรภูฏาน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของดรุคโฮลดิ้ง แอนด์ อินเวสเมนส์ จากัด (Druk Holding and Investments Limited: DHI) ซึ่งเป็นบริษัท เพื่อการลงทุนที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทั้งหมด ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับแอร์บัส สำหรับเครื่องบิน เอ320นีโอ (A320neo) จำนวน 3 ลำ และ เอ321เอ็กซ์แอลอาร์ (A321XLR) จำนวน 2 ลำ เพื่อขยายเครือข่ายการบินนานาชาติ
เครื่องบินใหม่เหล่านี้ จะเริ่มส่งมอบในปี 2573 โดยสายการบิน มีแผนที่จะทำการบิน จากท่าอากาศยานนานาชาติพาโร และท่าอากาศยานแห่งใหม่ ที่เมืองเกเลฟู มายฟูลเนส ซิตี้ (Gelephu Mindfulness City: GMC) ซึ่งได้ถูกวางวิสัยทัศน์ ไว้ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ แห่งอนาคตของภูฏาน โดย Drukair จะขยายการเชื่อมต่อจากจุดนี้ ไปยังภูมิภาคยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
ปัจจุบัน Drukair ได้ให้บริการเครื่องบินแอร์บัสในตระกูล เอ320 (A320) อยู่จานวนทั้งหมด 4 ลำ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินรุ่น เอ319 (A319) จำนวน 3 ลำ และ A320 จำนวน 1 ลำ เมือง GMC เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบทางตอนใต้ของภูฏาน และได้พัฒนาก้าวขึ้นเป็นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจแห่งใหม่ สำหรับราชอาณาจักร ในฐานะสายการบินประจำชาติ Drukair มีบทบาทสาคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับ GMC และภูฏาน ผ่านการตอบสนองความต้องการด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และน่าเชื่อถือ ทันดี วังชุก (Tandi Wangchuk) ประธานกรรมการบริหาร Drukair กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้น และยินดีที่ได้เริ่มต้นประวัติศาสตร์บทใหม่ของ Drukair การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ สอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับการพัฒนาเมือง Gelephu Mindfulness City และการขยายสนามบินเกเลพู (Gelephu) การลงทุนในเครื่องบินที่มีความล้ำสมัยนี้ ได้ตอกย้ำ ถึงความมุ่งมั่นของเรา ในการสนับสนุนวิสัยทัศน์ของภูฏาน ด้านการพัฒนาอย่างองค์รวม และมุ่งเน้นด้านจิตใจ”
เบอนัวต์ เดอ แซงเต็กซูเปรี (Benoît de Saint-Exupéry) รองประธาน ฝ่ายขายเครื่องบินพาณิชย์ของแอร์บัส กล่าวว่า “เราขอขอบคุณ Drukair ที่ได้ยืนยันความไว้วางใจที่มีในแอร์บัส เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของสายการบินในขั้นต่อไป แอร์บัสเป็นพันธมิตรที่ยาวนานของภูฏาน และเราภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เครื่องบินรุ่นล่าสุดของเรา จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา ในลำดับถัดไปของราชอาณาจักร ด้วยการเชื่อมโยงเมือง Gelephu Mindfulness City เข้ากับภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก”
Drukair มีที่ตั้งสานักงานใหญ่ ณ เมืองพาโร ประเทศภูฏาน และให้บริการในเส้นทางการบินประจำ ไปยังจุดหมายปลายทาง ประเทศต่าง ๆ 10 แห่ง ซึ่งรวมถึง 5 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียใต้ นอกจากนี้ Drukair ยังให้บริการบินในเส้นทางจุดหมายปลายทาง ภายในประเทศ 3 แห่ง อีกด้วย
A321neo เป็นสมาชิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตระกูล A320neo ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ขายดีที่สุดของ Airbus โดยมีพิสัยบินที่ดีเยี่ยมและประสิทธิภาพที่ไม่มีใครเทียบได้ ด้วยการใช้เครื่องยนต์เจเนเรชั่นใหม่และปลายปีกชาร์คเลท (Sharklet) ทาให้ A321neo สามารถลดเสียงรบกวนลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งประหยัดเชื้อเพลิง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเครื่องบินแบบทางเดินเดี่ยวในรุ่นก่อนหน้า ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความสะดวกสบาย ให้กับ ผู้โดยสารด้วยห้องโดยสาร แบบทางเดินเดี่ยว ที่มีขนาดกว้างที่สุด ในขณะนี้ ปัจจุบันมียอดคาสั่งซื้อเครื่องบิน A321neo แล้ว มากกว่า 6,400 ลำ จากลูกค้า มากกว่า 90 ราย ทั่วโลก
A321XLR เป็นวิวัฒนาการในลำดับขั้นถัดมาของ A320neo ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาด ที่ต้องการพิสัยบินที่ไกลขึ้น และปริมาณน้ำหนักบรรทุกมากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสายการบิน โดยเครื่องบินรุ่นนี้ มอบพิสัยบินในระยะไกลเป็นพิเศษ อย่างไม่เคยมีมาก่อน ถึง 4,700 ไมล์ทะเล ซึ่งมากกว่า รุ่น เอ321 แอลอาร์ (A321LR) ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณการใช้พลังงานต่อที่นั่ง ลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเครื่องบินของคู่แข่งในรุ่นก่อนหน้า รวมถึงลดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และเสียงรบกวนลง นอกจากนี้ ห้องโดยสารแอร์สเปซ (Airspace) แบบใหม่ของ A321XLR ยังมอบประสบการณ์การเดินทางที่ดีที่สุด ให้กับ ผู้โดยสาร โดยที่นั่งในทุกชั้น จะได้รับความความสะดวกสบาย แบบเดียวกับประสบการณ์ ในเครื่องบินลำตัวกว้างที่ทำการบินระยะไกล ในขณะที่มีต้นทุนต่ำ เนื่องจากเป็นเครื่องบินแบบทางเดินเดียว จนถึงขณะนี้ แอร์บัส ได้รับคำสั่งซื้อเครื่องบิน A321XLR แล้ว มากกว่า 500 ลำ
เช่นเดียวกับเครื่องบินแอร์บัสทุกรุ่น เครื่องบินตระกูล A320 สามารถใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) ได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และผู้ผลิตได้ตั้งเป้าให้เครื่องบินสามารถใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2573
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : พุธ 14 สิงหาคม 2567 11:47:59 เข้าชม : 1894336 ครั้ง