นอสตร้า โลจิสติกส์ ผู้ให้บริการโซลูชันและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านการขนส่งอัจฉริยะ (Intelligence Transportation Platform) สำหรับงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ชวนจับตา 4 เทรนด์เทคโนโลยี มาแรง ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ประจำปี 2024 นี้ ย้ำ การพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี คือ แนวทางจำเป็นของธุรกิจ ซึ่งเทคโนโลยีสำคัญ ได้แก่ เทคโนโลยี AI, การลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์, การจัดการโลจิสติกส์แบบ Asset-Light Logistics และเทคโนโลยีคลาวด์ เผย รูปแบบระบบนิเวศ ทางโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนมีความหลากหลาย และซับซ้อนมากขึ้นหลังยุคการระบาดของโควิด-19 ชี้ แนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์ เดินหน้าลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพ ในคลังสินค้า และเครือข่ายการขนส่ง นอสตร้า โลจิสติกส์ พร้อมเสนอโซลูชันใหม่ ตอบโจทย์ความต้องการผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ทั้งระบบนิเวศแบบครบวงจร เพื่อเติมเต็มช่องว่าง สำหรับการบริหารจัดการงานด้านขนส่งโลจิสติกส์
นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการ อาวุโส ส่วนซัพพลายเชนโซลูชัน–เทคโนโลยี บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยภาพรวมสถานการณ์ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ว่า ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ มีการปรับสมดุลของห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนไปอย่างมาก โดยเฉพาะการเพิ่มความยืดหยุ่น และกระจายความหลากหลายให้มากขึ้น เช่น ซัพพลายเออร์ สถานที่ผลิต การจัดเก็บและกระจายสินค้า เครือข่ายการจัดจำหน่าย ตลอดจนการคมนาคมขนส่ง เมื่อทั่วโลกได้ตระหนักและเล็งเห็นปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความสัมพันธ์ของระบบนิเวศทางโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน ที่มีความหลากหลาย และซับซ้อนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจโลจิสติกส์ จึงต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ พัฒนาขั้นตอนการทำงาน ใช้แนวทางปฏิบัติที่ทันสมัย และมีแนวทางเชิงกลยุทธ์อย่างรวดเร็ว พร้อมตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการปรับตัว และการแข่งขันของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม อย่างทันท่วงที และสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างก้าวกระโดด เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตของธุรกิจและห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ลดความเสี่ยง และสร้างการแข่งขันได้ในระยะยาว
นอกจากนี้ รายงานจาก Gartner ยังเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการปรับตัวในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ว่า กว่า 50 % ของบริษัทโลจิสติกส์และซัพพลายเชนต้องการลงทุนในเทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ภายในปี 2024 โดยมีตัวอย่าง 10 อันดับ แนวโน้มการใช้นวัตกรรมในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ปี 2567 จากข้อมูลเชิงลึกของ StartUs (startus-insights.com) ได้แก่ IoT, AI, Robotics, Last Mile Delivery, Warehouse Automation, Blockchain, Data Analytics, Cloud Computing, Autonomous Vehicle และ Elastic Logistics
และจากสถานการณ์ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ทั่วโลก ธุรกิจโลจิสติกส์กำลังลงทุนในเทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการในคลังสินค้า และเครือข่ายการขนส่ง โดยพบ 4 แนวโน้มสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่โดดเด่นและจำเป็นสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ในปี 2024 ได้แก่
- การใช้เทคโนโลยี AI
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ถือเป็นผู้นำในด้านการใช้ระบบกระบวนการอัตโนมัติ (Process Automation) และการใช้ Artificial intelligence (AI) เช่น หุ่นยนต์ ยานยนต์ การขนส่ง รวมถึงในระบบไอที และซอฟต์แวร์ ด้วยอัลกอริธึมและแบบจำลองที่สามารถวิเคราะห์ และนำเสนอประเภทข้อมูลที่หลากหลายสนับสนุนการตัดสินใจ เป้าหมายคือ ทำงานสำเร็จเร็วขึ้น เปลี่ยนงานที่ทำซ้ำๆ ( Routine) ให้ระบบช่วยจัดการแทน หรือลดขั้นตอนการทำงานด้วยคนให้น้อยลง และลดข้อผิดพลาด
ระบบไอทีสำหรับการขนส่ง และโลจิสติกส์ ที่ใช้ AI จะมีความสามารถในการบริหารจัดการและวางแผน เช่น การจัดสรรการใช้ทรัพยากรขนส่ง การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเส้นทางการจัดส่ง ทำให้เห็นสาเหตุเบื้องหลังปัญหาที่ไม่เป็นไปตามแผนและคาดการณ์ความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ เช่น ความล่าช้า หรือความเสี่ยงระหว่างการขนส่ง จนถึง ปลายทาง ตลอดจนช่วยปรับปรุงการสื่อสารแบบเรียลไทม์ ระหว่าง ทีมโลจิสติกส์ เช่น การติดตามยานพาหนะขนส่ง ทำให้เห็นการขนส่งที่ออกนอกเส้นทางและสามารถใช้แชทบอท (Chatbot) หรือ ผู้ช่วยเสมือนจริง (Virtual Assistant) สื่อสารแบบเรียลไทม์ ทั้งนี้ AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ ทำให้รับรู้ข้อมูล (Visibility) ได้ตลอดกระบวนการภายในโลจิสติกส์ซัพพลายเชน และสามารถจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันที
- การลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์
การลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint For Organization: CFO) เป็นแนวโน้มการดำเนินการที่ขาดไม่ได้ในปี 2024 เนื่องจากผู้บริโภคทั่วโลกต้องการความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของคุณภาพชีวิตแก่โลกของเรามากขึ้น ผลักดันให้ธุรกิจทั่วโลกรวมถึงธุรกิจโลจิสติกส์ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง ดังนั้นธุรกิจโลจิสติกส์จึงลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้รถยนต์ไฟฟ้า การทำ Smart warehouse การใช้เทคโนโลยีบริหารการขนส่ง (Transportation Management System) จัดเส้นทางขนส่งที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยลง การตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ และการตรวจเช็คประสิทธิภาพ และบำรุงรักษารถขนส่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง และลดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จากความเสื่อมสภาพของเครื่องยนต์
- การจัดการโลจิสติกส์แบบ Asset-Light Logistics
โมเดลโลจิสติกส์แบบ Asset-light เป็นแนวทางในการลดการพึ่งพาสินทรัพย์ในการดำเนินงาน ด้วยการจ้างบริษัทภายนอก (Outsource) ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนลดลง เมื่อเทียบกับการเป็นเจ้าของทรัพย์ด้วยตนเอง เช่น ยานพาหนะขนส่ง คลังสินค้า รวมถึงแรงงานที่ต้องใช้ในการดำเนินการ ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติความต้องการของบริษัทต่าง ๆ ต่อรูปแบบ Asset-Light Logistics ที่เพิ่มขึ้น พบว่า 67.5% ของบริษัททั่วโลก ใช้บริการบริษัทขนส่ง (2PL, 3PL) และ 63.5 % ใช้บริการด้านคลังสินค้าจากบริษัทเอาท์ซอร์ส โดยหัวใจของเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์แพลตฟอร์ม ที่สำคัญ คือ จะต้องช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถมองเห็น และติดตามสินค้าของตนเอง จากการขนส่งสินค้าโดยบริษัทเอาท์ซอร์สได้เช่นเดียวกับการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และช่วยให้สามารถเลือกและระบุบริษัทเอาท์ซอร์สที่เหมาะสมกับเงื่อนไข และสินค้าที่จะว่าจ้างขนส่ง โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านประสิทธิภาพ ข้อกำหนดด้านต้นทุน และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยรวม
- เทคโนโลยีบนคลาวด์
ข้อดีของการใช้เทคโนโลยีบนคลาวด์ (Cloud-Based Technology) คือ การลดต้นทุนด้านโครงสร้างระบบพื้นฐานและฮาร์ดแวร์ เพิ่มความคล่องตัวในการปรับขนาดการใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ง่าย รวดเร็ว และลงทุนต่ำ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจควรเลือกโซลูชันเทคโนโลยี หรือแพลตฟอร์ม ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้งานอยู่แล้วขององค์กรได้อย่างราบรื่น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ทุกระบบ หรือไม่ต้องทำงานแยกระบบกัน เพื่อให้เกิดการทำงานแบบ Seamless Integration สามารถใช้ข้อมูลสำคัญร่วมกัน และเชื่อมต่อข้อมูล ภายใต้ระบบนิเวศ เทคโนโลยีเดียวกัน ตลอดทั้งองค์กร เช่น การเชื่อมต่อระบบบริหารงานขนส่ง TMS เข้ากับระบบ ERP ระบบบัญชี หรือระบบบริหารจัดการคลัง เพื่อให้เห็นภาพรวม พร้อมวางแผนและจัดการทรัพยากร และต้นทุนค่าใช้จ่ายร่วมกันทั้งระบบ เป็นต้น
“NOSTRA LOGISTICS ในฐานะผู้นำการให้บริการโซลูชัน และแพลตฟอร์ม ด้านการขนส่งอัจฉริยะ (Intelligence Transportation Platform) เราพร้อมเดินหน้าพัฒนา และออกแบบสร้างสรรค์แพลตฟอร์มด้วยเทคโนโลยี อันทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานของโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน ที่มีความหลากหลาย และซับซ้อนมากขึ้น ท้ายที่สุด NOSTRA LOGISTICS จะขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน เติมเต็ม และพัฒนาระบบนิเวศภาพรวมของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ด้วยระบบการขนส่งอัตโนมัติ (Transportation Management System: TMS) ที่ครบสมบูรณ์ด้วยฟังก์ชันการทำงานสำหรับทุกกิจกรรมการขนส่ง ตั้งแต่การจัดการออเดอร์ขนส่ง จัดสรรการใช้รถขนส่ง และการบรรทุกสินค้า บริหารจัดการเอาท์ซอร์สขนส่ง วางแผนเส้นทาง ติดตามการจัดส่ง ไปจนถึงงานซ่อมบำรุงรถ ด้วยเทคโนโลยีแบบ On-Cloud ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูล (System Integration) ระหว่างระบบไอทีต่าง ๆ ขององค์กรในแบบ Ecosystem เช่น TMS, ERP, WMS, ระบบบัญชี เพื่อนำข้อมูลงานขนส่ง และต้นทุนค่าใช้จ่าย มาใช้ในการวิเคราะห์ วางแผน และสรุปผลการทำงานได้ตลอดการทำงาน ภายในองค์กร ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก และความโปร่งใสของระบบงานขนส่ง และโลจิสติกส์ ในปี 2024 นี้ เราพร้อมให้บริการ และมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุด อย่างสมบูรณ์ และสร้างความพึงพอใจกับลูกค้า และผู้เกี่ยวข้อง ต่อไป” นางวรินทร กล่าวทิ้งท้าย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NOSTRA LOGISTICS : https://www.nostralogistics.com
บริษัท จีไอเอส จํากัด โทร 02-116-4478 และ 02-116-4161
ข้อมูลอ้างอิง : https://www.gartner.com/en/articles/gartner-predicts-the-future-of-supply-chain-technology
https://locus.sh/logistics-trends-2024/
เกี่ยวกับ NOSTRA LOGISTICS (นอสตร้า โลจิสติกส์)
“NOSTRA LOGISTICS” (นอสตร้า โลจิสติกส์) โดย Supply Chain Solutions Division (SCS) หนึ่งในส่วนงานธุรกิจของบริษัท จีไอเอส จำกัด ผู้ให้บริการเทคโนโลยี และแพลตฟอร์มด้านงานขนส่ง และโลจิสติกส์ซัพพลายเชนอัจฉริยะ แบบครบวงจร ได้แก่ การบริหารงานขนส่ง (Transportation Management System) การติดตามรถขนส่ง (Fleet Management System) การติดตาม และเก็บหลักฐานการจัดส่งด้วยสมาร์โฟน (ePOD) การจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัย (Telematics) การซ่อมบำรุงรถ (Fleet Maintenance) และการจัดคิวรถหน้าคลังสินค้า (Queue Management) ด้วยความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีโครงข่ายระบบไอทีมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี เราเป็นผู้นำการบูรณาการระบบเทคโนโลยีงานโลจิสติกส์ร่วมกับระบบไอทีชั้นนำ เช่น ERP, SAP, WMS เพื่อการทำงานภายใต้ระบบนิเวศเทคโนโลยีเดียวกัน ตลอดซัพพลายเชน พร้อมมีโซลูชัน ที่ตอบโจทย์ลูกค้าหลากหลายอุตสาหกรรม ข้อมูลเพิ่มเติม ที่ www.nostralogistics.com
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ อังคาร 30 มกราคม 2567 11:43:59 เข้าชม : 1587629 ครั้ง