Home ข่าวเด่น ทันใจ  นานาชาติผสานกำลัง ‘ฟังเสียงจักรวาล’ ผ่านโครงการ ‘กล้องวิทยุโทรทรรศน์ SKA’

 นานาชาติผสานกำลัง ‘ฟังเสียงจักรวาล’ ผ่านโครงการ ‘กล้องวิทยุโทรทรรศน์ SKA’

16 second read
0
0
165

ปักกิ่ง, 16 ก.ค. (ซินหัว) — พื้นที่อันเวิ้งว้างกว้างใหญ่ไร้สัญญาณวิทยุ ในแอฟริกาใต้และออสเตรเลียนั้น ขณะนี้เป็นที่ตั้งของโครงการวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ ที่สำคัญที่อยู่ระหว่างการเร่งก่อสร้าง นั่นคือ กล้องโทรทรรศน์วิทยุอาเรย์ตารางกิโลเมตร หรือเอสเคเอ (SKA)

เมื่อสร้างเสร็จ กล้องตัวนี้จะรับคลื่นวิทยุจากระยะไกลหลายพันล้านปีแสงเพื่อแปลงเป็นภาพ และจะช่วยให้นักดาราศาสตร์มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์และกาแล็กซีกลุ่มแรกหลังปรากฏการณ์บิ๊กแบง

กล้องเอสเคเอ จะเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใหญ่ที่สุดในโลกในส่วนของรูรับแสงโดยรวม โดยจะรับผิดชอบด้านการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ใหม่ เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจของมนุษยชาติเกี่ยวกับจักรวาล และกฎทางกายภาพขั้นพื้นฐาน

การสำรวจดังกล่าว ครอบคลุมถึงการก่อตัวของเทหวัตถุในอวกาศรุ่นแรก วิวัฒนาการของกาแล็กซี ธรรมชาติของพลังงานมืด แม่เหล็กอวกาศ แก่นแท้ของแรงโน้มถ่วง สารชีวโมเลกุล  และการค้นหาอารยธรรมนอกโลก

ช่วงต้นปี 1993 ประเทศต่างๆ 10 แห่ง ซึ่งรวมถึงจีน ได้ร่วมกันริเริ่มการก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุเอสเคเอ และเมื่อนับถึงเดือนมิถุนายน 2024 สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการอย่างเป็นทางการมีทั้งแอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร จีน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส และแคนาดา รวมถึงประเทศผู้สังเกตการณ์ ประกอบด้วย อินเดีย ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

โครงการดังกล่าวยังเป็นแพลตฟอร์มการประมวลผลทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลขั้นสูงที่เข้มข้นอีกด้วย โดยหนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือวิธีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล และหลังจากสร้างเสร็จและใช้งานแล้ว โครงการนี้จะสร้างข้อมูลมากกว่า 1 เอกซะไบต์ หรือ 1 พันล้านกิกะไบต์ต่อปี

ด้วยการสนับสนุนและคำแนะนำจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ห้องทดลองเผิงเฉิงและทีมงานของศาสตราจารย์หวังเฟิง จากมหาวิทยาลัยกว่างโจว จึงได้จัดตั้งทีมวิจัยขึ้นเพื่อเสริมจุดแข็งของกันและกันในการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลวิทยาศาสตร์เอสเคเอ (SDP) โดยทีมวิจัยร่วมได้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อพัฒนาชุดซอฟต์แวร์สนับสนุนการประมวลผลและการวิเคราะห์บิ๊กดาต้าโดยใช้อุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า “เผิงเฉิง คลาวด์ เบรน” (Pengcheng Cloud Brain)

หลังสร้างเสร็จ โครงการนี้จะกลายเป็นหนึ่งในศูนย์วิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุดในโลก และจะกลายเป็นต้นแบบในการใช้เทคโนโลยีเอไอของจีนในการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ และส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมนุษย์

(เรียบเรียง โดย Dong Daoyong, https://www.xinhuathai.com/silkroad/450532_20240716 , https://en.imsilkroad.com/p/340958.html)

———————————————————————————————————————————

ภาพประกอบข่าว

(แฟ้มภาพซินหัว : ต้นแบบเสาอากาศชุดแรก ของโครงการกล้องโทรทรรศน์วิทยุเอสเคเอ เปิดตัวที่เมืองสือเจียจวง มณฑลเหอเป่ยของจีน วันที่ 6 ก.พ. 2018)

(แฟ้มภาพซินหัว : กล้องโทรทรรศน์วิทยุเมียร์แคต (MeerKAT) โครงการต้นกำเนิดของกล้องโทรทรรศน์วิทยุเอสเคเอ และคลื่นความถี่วิทยุขนาดใหญ่ในใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก)

(แฟ้มภาพซินหัว : “เผิงเฉิง คลาวด์ เบรน II” หลังจากกลับมาติดอันดับไอโอ500 (IO500) โดยมีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด วันที่ 1 ก.ค. 2021)

(แฟ้มภาพซินหัว : ทีมงานของศาสตราจารย์หวังเฟิง จากมหาวิทยาลัยกว่างโจว และโอเลก สเมอร์นอฟ ประธานการวิจัยโครงการเอสเคเอของศูนย์เทคโนโลยีดาราศาสตร์วิทยุของมหาวิทยาลัยโรดส์ ร่วมกันหารือเกี่ยวกับปัญหาการประมวลผลข้อมูลของกล้องโทรทรรศน์วิทยุเอสเคเอ)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : พุธ 17 กรกฎาคม 2567  13:04:59 เข้าชม : 1798424 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ข่าวเด่น ทันใจ
Comments are closed.

Check Also

อบจ.ภูเก็ต ร่วมให้ข้อมูล เพื่อการประเมินศักยภาพของ จ.ภูเก็ต ในการพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยว โดย องค์กรการท่องเที่ยวยั่งยืนโลก

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา นายอานุภาพ เวชว … …