Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์ การท่องเที่ยวล้นเกิน

บทวิเคราะห์ การท่องเที่ยวล้นเกิน

8 second read
0
0
244

เมื่อเร็ว ๆ นี้ องค์การการท่องเที่ยวแห่งสหประชาชาติ (UN Tourism) คาดการณ์ ว่า จํานวนนักเดินทางทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,800 ล้านคน ภายใน ปี 2030 คิดเป็นประมาณหนึ่งในห้าของประชากรทั้งหมดของโลก ในขณะนั้น

การท่องเที่ยวจะสร้างการมีงานทำและส่งเสริมการลงทุน ก่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจภูมิภาค อย่างไรก็ตาม จํานวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวในหลาย ๆ ด้าน ตลอดจนก่อให้เกิดการท่องเที่ยวล้นเกิน

คําว่า “การท่องเที่ยวล้นเกิน” หมายถึง ความแออัดของแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากการเติบโตของนักท่องเที่ยว ที่มากเกินไป ความทุกข์ที่เกิดจากจุดสูงสุดของนักท่องเที่ยว ตามฤดูกาลต่อผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยอย่างถาวร ตลอดจนความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน และความเป็นอยู่ที่ดี

“การท่องเที่ยวล้นเกิน” เป็นปัญหาระดับโลก บรรดาแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในโลก ซึ่งรวมถึงกรุงปารีสฝรั่งเศส กรุงเบอร์ลินเยอรมนี กรุงเรคยาวิกของไอซ์แลนด์ เมืองเกียวโตของญี่ปุ่น เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย……ล้วนได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยว “การท่องเที่ยวล้นเกิน” กําลังทําลายภูมิทัศน์  และสิ่งแวดล้อมส่วนท้องถิ่น ก่อให้เกิดมลพิษต่อชายหาด สร้างแรงกดดันอย่างมากต่อโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น และทําให้ราคาที่อยู่อาศัยสูงขึ้น

ในสถานที่บางแห่ง ที่จัดการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลัก ชาวท้องถิ่นกําลังเฝ้าดูบ้านเกิดของพวกเขา ถูกครอบงําด้วยร้านขายของที่ระลึก ฝูงชน รถทัวร์ และบาร์ที่มีเสียงดัง ตลอดจนสูญเสียเอกลักษณ์ในท้องถิ่นไป

นอกจากนี้ ชาวท้องถิ่นยังต้องเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ เนื่องจากการพัฒนาการท่องเที่ยว ปัจจุบัน หลายเมืองทั่วโลกกําลังเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งก่อให้เกิดการเก็งกําไรราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่เพิ่มขึ้นและค่าครองชีพที่สูงขึ้นในชุมชนท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น กรุงอัมสเตอร์ดัมเมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์มีประชากรถาวรประมาณ 1.1 ล้านคน แต่ในปี 2023 มีนักท่องเที่ยวมากถึง 5 ล้านคน มาเยี่ยมชม ความต้องการเช่าบ้านระยะสั้น จากนักท่องเที่ยวได้ผลักดัน ให้ราคาอพาร์ทเมนต์ และโรงแรมเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความต้องการที่อยู่อาศัยของคน ในท้องถิ่น

“การท่องเที่ยวล้นเกิน” ทําให้ความตึงเครียดระหว่างนักท่องเที่ยว และผู้อยู่อาศัยในจุดหมายปลายทาง รุนแรงขึ้น โดยมีชาวยุโรปจํานวนมากไม่พอใจกับเรื่องนี้อย่างยิ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของยุโรป เช่น เวนิสของอิตาลี บาร์เซโลนาของสเปน และลิสบอนของโปรตุเกส ล้วนมีชาวท้องถิ่นประท้วงต่อต้านการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นเพราะการท่องเที่ยวกําลังทำลายชุมชน ราคาที่อยู่อาศัยแพงเกินไป มลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม การจราจรติดขัด การขาดแคลนน้ำ และความแออัด

สวนดอกไม้ Keukenhof ในเขตชานเมืองอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในสวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เคยรองรับนักท่องเที่ยวมากกว่า 200,000 คนภายในเวลา 4 วัน ในจำนวนนี้ มีนักท่องเที่ยว 80 % มาจากต่างประเทศ ชาวบ้านบ่นว่า แทนที่ไปจะเจอนักท่องเที่ยวล้นหลาม อยู่บ้านจะสุขสงบกว่า

นักท่องเที่ยวที่มีเสียงดัง และไม่สามารถจัดการได้มีอยู่เต็มทุกหนทุกแห่ง ก่อให้เกิดความแออัด และขยะที่ตามมา และสร้างแรงกดดันต่อการจัดการเมือง จากสถิติ ยอดเขาเอเวอเรสต์ที่สูงที่สุดในโลก ต้อนรับนักท่องเที่ยวหลายแสนคน ทุกปี และนักท่องเที่ยวเหล่านี้ ทิ้งขยะหลายร้อยตันบนภูเขา

ทะเลสาบเกลือฉาข่า มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกของจีน ก็ได้รับผลกระทบจากการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวเช่นกัน จากสถิติพบ ว่า ในช่วงพีคของการท่องเที่ยวทะเลสาบเกลือฉาข่า พนักงานทําความสะอาดจำนวน 180 คน ต้องทํางานมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน โดยจะเก็บขยะได้ 12 ตันต่อวันจากแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้

แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ พากันใช้มาตรการเพื่อรับมือ “การท่องเที่ยวล้นเกิน” หนังสือพิมพ์ประจำวันอาซาฮีซิมบุนของญี่ปุ่น รายงาน ว่า ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ จํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปเยือนญี่ปุ่น ได้ทําสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึงจำนวน17,777,200 คน/ครั้ง ทางการเทศบาลโอซาก้ากําลังพิจารณาเรียกเก็บเงินจากตั๋วนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อต่อสู้กับ “การท่องเที่ยวล้นเกิน” ต่อการนี้ นายกรัฐมนตรีคิชิดะของญี่ปุ่น ระบุ ว่า เป็นสิ่งสําคัญมากที่จะต้องทํางานเพื่อส่งเสริมการดึงนักท่องเที่ยวของท้องถิ่น ตลอดจนการป้องกันและยับยั้งการ “การท่องเที่ยวล้นเกิน ”

ความจริง ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นได้เรียกเก็บภาษีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ คนละ 1,000 เยน ในขณะที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ จะออกจากญี่ปุ่น พร้อมกันนี้เมืองท่องเที่ยวที่สําคัญหลายแห่งในยุโรป เช่น กรุงปารีส กรุง เบอร์ลิน และกรุงโรม ก็ได้เก็บภาษีการท่องเที่ยวต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่นกัน ตั้งแต่ปี 2023 เมืองเวนิส ของอิตาลีได้จํากัดขนาดสูงสุดของทัวร์กลุ่ม ไว้ที่จำนวน 25 คน ปีนี้ เมืองเวนิสยังนําร่อง “ภาษีเข้าเมือง” ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยเรียกเก็บ 5 ยูโรต่อคน สําหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้พักค้างคืนในเมืองเวนิส และค่าธรรมเนียมนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ยูโรต่อคนในปี 2025 ในช่วงทดลองเก็บภาษีดังกล่าว เทศบาลเมืองเวนิสได้เก็บภาษีจากนักท่องเที่ยว จำนวน 450,000 คน สร้างรายได้รวมประมาณ 2.2 ล้านยูโร

สำหรับการท่องเที่ยวของเดนมาร์ก หวังที่จะชดเชยการปล่อยคาร์บอนของนักท่องเที่ยว โดยสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเก็บขยะและใช้การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวของเดนมาร์กรณรงค์ให้บรรดานักท่องเที่ยว แสดงรูปถ่ายของการเข้าร่วมกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในโคเปนเฮเกนเพื่อได้สิทธิพิเศษในการรับประทานอาหาร หรือ บริการฟรีที่ร้านอาหาร และสถานประกอบการที่กําหนดไว้ สิ่งนี้อาจช่วยลดความขัดแย้ง ระหว่างนักท่องเที่ยว และคนในท้องถิ่น ในจีน พื้นที่ต่าง ๆ จัดการจองบัตรเข้าแหล่งท่องเที่ยวออนไลน์ล่วงหน้า และการออกบัตรเข้าแหล่งท่องเที่ยว ตามระยะเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงการล้นหลามของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันหยุดยาวของวันชาติ และเทศกาลต่าง ๆ จุดชมวิว เช่น ภูเขาเซียงซาน และพระราชวังฤดูร้อน ในกรุงปักกิ่ง ได้เริ่มใช้มาตรการ “จองทัวร์ และการจํากัดจำนวนนักท่องเที่ยว ในช่วงที่มีนักท่องเที่ยวมาก

สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (World Travel & Tourism Council : WTTC) ระบุว่าสถานที่ที่เหมาะสมที่สุด สําหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวจะต้องเป็นสถานที่ที่มีนโยบายที่ดี การปรับปรุงขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยว ของเมืองควรให้ความสําคัญกับความน่าอยู่ ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงชีวิตของผู้อยู่อาศัยก่อน

ผู้เขียน เชื่อว่า เพื่อหลีกเลี่ยง “การท่องเที่ยวล้นเกิน” ควรสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว ประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ดี และผลประโยชน์ของคนส่วนท้องถิ่น

เขียน โดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : พุธ 4 กันยายน 2567  12:54:59 เข้าชม : 1897521 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

นายก อบจ.ภูเก็ต เปิด ประชุม รับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาวิจัย  “กรณีศึกษาผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนา และความต้องการของประชาชน จ.ภูเก็ต”

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. นายเรวัต อารี … …