ช่วงหลายปี ที่ผ่านมา จีน ส่งเสริมการพัฒนาสีเขียวของโลก อย่างแข็งขัน ด้วยปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม อย่างต่อเนื่อง ในระหว่างการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) ซึ่งจัดขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ ความสำเร็จในการพัฒนาสีเขียวของจีน ได้รับการยอมรับอย่างสูง จากประชาชนประเทศต่าง ๆ
ภายใต้บริบทความเป็นกลางทางคาร์บอน จีน มีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในปฏิบัติการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลก ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา จีน ได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศ ที่ลดการใช้พลังงานได้เร็วที่สุด ในโลก โดยสามารถประหยัดการใช้พลังงานถ่านหินมาตรฐานรวมแล้ว ประมาณ 1,400 ล้านตัน จีนสามารถสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปีด้วยอัตราการใช้พลังงานเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 3.2 จีน มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของพลังงานใหม่ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของโลก มีการลงทุนสะสมด้านพลังงานหมุนเวียนมาก เป็นอันดับหนึ่งของโลก และเป็นประเทศหลักที่ส่งมอบอุปกรณ์พลังงานลม แผงโซลาร์เซลล์ และแบตเตอรี่ จีน มีจำนวนรถยนต์พลังงานใหม่ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ใน ปี ค.ศ. 2023 การลงทุนของจีนด้านการเปลี่ยนแปลงพลังงานสูง ถึง 676,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งกำลังเป็นแรงผลักดันที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวของโลก
ในฐานะผู้เดินหน้าส่งเสริมการบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศโลก อย่างแท้จริง จีน ไม่เพียงแต่ก้าวขึ้นมา เป็นแนวหน้าด้านการพัฒนาสีเขียว เท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นแบ่งปันประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงพลังงาน เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ประเทศกำลังพัฒนา ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และประเทศกำลังพัฒนา ที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ในด้านการเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2016 จีนได้จัดหาและระดมเงินทุนพัฒนาโครงการต่างๆมากกว่า 177,000 ล้านหยวน เพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย(Levelized Cost of Energy : LCOE)ของโครงการพลังงานลม ลดลง มากกว่าร้อยละ 60 และพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลก ลดลง มากกว่า ร้อยละ 80 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากนวัตกรรมของจีน การผลิตของจีน และวิศวกรรมของจีน
ข้อมูล ล่าสุด จาก กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน ประเทศจีน ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ 54 ฉบับ กับ 42 ประเทศกำลังพัฒนา นับตั้งแต่ประกาศดำเนินโครงการ ”แถบแสงสว่างอาฟริกา” เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว จีนได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศในแอฟริกา เช่น บุรุนดี ชาด เป็นต้น เพื่อใช้ข้อได้เปรียบของอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ของจีน มาช่วยเหลือครัวเรือนชาวแอฟริกันหลายหมื่นครัวเรือน แก้ไขปัญหาความยากลำบาก ในการใช้ไฟฟ้า และช่วยให้พวกเขาบรรลุการพัฒนา ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ
ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นประเทศใหญ่ ที่มีความรับผิดชอบ จีน ได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา ที่ให้ไว้อย่างจริงจัง ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการปฏิบัติตาม “ข้อตกลงปารีส” และ “วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ค.ศ. 2030” อย่างครอบคลุมและเชิงลึก ได้ขยายบทบาทการเป็นผู้นำประชาคมระหว่างประเทศ หลังจากบรรลุ “เป้าหมายการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. 2020” ก่อนเวลา และดำเนินภารกิจได้สูงกว่าเป้าหมายกำหนดไว้ เมื่อปลายปี 2019 จีน ได้ปรับ และสร้างเป้าหมาย การมีส่วนร่วมระดับชาติ ด้วยความสมัครใจ ในปี 2020 โดยมุ่งมั่นที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ถึงจุดสูงสุดก่อน ค.ศ.2030 และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ก่อน ปี ค.ศ.2060
ปัจจุบัน ปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศของโลก เผชิญกับความยากลำบาก และความท้าทายมากมาย มีช่องว่างมหาศาลระหว่างการดำเนินการจริงกับเป้าหมาย และพันธกรณีที่กำหนดไว้ใน “ข้อตกลงปารีส” จีน ยึดมั่นในหลักการความรับผิดชอบร่วมกัน แต่มีความแตกต่างกัน จีน เรียกร้องให้ประเทศพัฒนา ปฏิบัติตามความรับผิดชอบ และพันธกรณี เพิ่มการสนับสนุนทางการเงิน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ไปยังประเทศกำลังพัฒนา เพื่อร่วมกันรับมือกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังจะเกิดขึ้น
เขียน โดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : อังคาร 3 ธันวาคม 2567 15:57:59 เข้าชม : 1897623 ครั้ง