การประชุมครั้งแรกของคณะรัฐมนตรีจีน ในปี 2024 ที่จัดขึ้น เมื่อต้นเดือนนี้ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนา “เศรษฐกิจสูงวัย”หรือ Silver Economy เพื่อให้บรรดาผู้สูงอายุจีน มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น ที่ประชุมย้ำว่า การพัฒนา “เศรษฐกิจสูงวัย” เป็นมาตรการสําคัญในการรับมือสังคมผู้สูงอายุ และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบัน และอนาคต
ต่อจากนั้น คณะรัฐมนตรีจีน ได้ออก “ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนา ‘เศรษฐกิจสูงวัย’ และการปรับปรุงความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น” โดยตั้งเป้าว่า จะเร่งการพัฒนา “เศรษฐกิจสูงวัย” ให้มีขนาดใหญ่ ได้มาตรฐาน คลัสเตอร์ (clustering) และสร้างแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุเพลิดเพลินกับวัยชราอย่างมีความสุข
เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่ผ่านมา สํานักงานสารนิเทศ คณะรัฐมนตรีจีนได้จัดแถลงข่าว เพื่ออธิบายอย่างละเอียด เกี่ยวกับ “ความคิดเห็นในการพัฒนา ‘เศรษฐกิจสูงวัย’ และการปรับปรุงความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น” ในการแถลงข่าวดังกล่าว นายหลิว หมิง อธิบดีกรมพัฒนาสังคม คณะกรรมการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติจีน ระบุ ว่า “เศรษฐกิจสูงวัย” ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ “เศรษฐกิจผู้สูงวัยในช่วงวัยชรา” และ “เศรษฐกิจเตรียมความพร้อมสู่วัยชรา ซึ่งเป็นช่วงก่อนวัยชรา”
อธิบดี กรมพัฒนาสังคม ยังระบุ ด้วย ว่า “เศรษฐกิจสูงวัย” จัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย มีศักยภาพมาก และมีอนาคตกว้างไกล ซึ่งเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ครอบคลุมเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ และมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นส่วนสําคัญของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่
“ความคิดเห็นในการพัฒนา ‘เศรษฐกิจสูงวัย’ และการปรับปรุงความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น” ดังกล่าว เสนอให้ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์อัจฉริยะรุ่นใหม่แบบบูรณาการ เช่น เทอร์มินัลเคลื่อนที่ อุปกรณ์สวมใส่ และหุ่นยนต์บริการในบ้าน ชุมชน สถาบันบำเหน็จบำนาญ โดยจะพัฒนาผลิตภัณฑ์อัจฉริยะด้านการบริหารสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุ และการปลอบใจเป็นสำคัญ
สถิติ จาก กระทรวงกิจการพลเรือนจีน ระบุ ว่า ปัจจุบัน จีนมีประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ถึง 280 ล้านคน คิดเป็นเกือบ 20% ของประชากรทั้งหมด รายงานเกี่ยวกับการพัฒนา “เศรษฐกิจสูงวัย” ของจีนที่เผยแพร่โดยสถาบันผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยฟู่ตั้นนครเซี่ยงไฮ้คาดว่า ถึงปี 2023 ขนาด“เศรษฐกิจสูงวัย” ของจีนจะอยู่ที่ประมาณ 19 ล้านล้านหยวน คิดเป็น 28% ของการบริโภคทั้งหมดของประเทศ และคิดเป็น 9.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ปัจจุบัน ผู้สูงอายุจีนส่วนใหญ่ มีเงิน มีเวลาว่าง และมีสุขภาพแข็งแรงดี พวกเขานิยมเดินทางท่องเที่ยว ช้อปปิ้งออนไลน์ บำรุงสุขภาพ การเข้าสังคม การไปเรียนในมหาวิทยาลัยสําหรับผู้สูงอายุ…… ถือเป็นพลังสำคัญในการบริโภคของจีน ซึ่งได้สร้างโอกาสการพัฒนา “เศรษฐกิจสูงวัย” อีกทั้งขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของจีนพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น การดูแลผู้สูงอายุแบบอัจฉริยะ การดูแลผู้สูงอายุแบบดิจิทัล แม่บ้านดิจิทัล หุ่นยนต์พยาบาล เป็นต้น
ทั้งนี้ สื่อมวลชนจีน จึงรณรงค์ให้รวมพลังของสังคมในการพัฒนา “เศรษฐกิจสูงวัย” โดย ระบุ ว่า ทุกครอบครัวต่างมีผู้สูงอายุ ไม่ว่าใครล้วนจะมีวันที่แก่ตัวลง ความต้องการของผู้สูงอายุ ในปัจจุบันจะเป็นความต้องการในอนาคตของคนหนุ่มสาว การพัฒนา“เศรษฐกิจสูงวัย” ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมให้บรรดาอาจารย์ ช่างฝีมือ และอาสาสมัครที่ปลดเกษียณแล้ว มีส่วนร่วม หากยังต้องการให้คนทุกวัยในสังคม มีส่วนร่วมอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ขณะนี้ “เศรษฐกิจสูงวัย” ในจีนยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย แตกต่าง และเป็นส่วนตัวของผู้สูงอายุได้ ด้วยเหตุนี้ ควรเรียนรู้ประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ก้าวหน้าจากต่างประเทศ โดยนำเข้าทรัพยากรระหว่างประเทศ ที่มีคุณภาพสูง เสริมสร้างความร่วมมือกับสถาบันบริการการบําเหน็จบํานาญระหว่างประเทศ เพื่อร่วมกันพัฒนาตลาด “เศรษฐกิจสูงวัย” ของจีน และให้ “เศรษฐกิจสูงวัย” กลายเป็นจุดเติบโตใหม่ของเศรษฐกิจจีน
เขียน โดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ เสาร์ 27 มกราคม 2567 10:54:59 เข้าชม : 1672598 ครั้ง