Home ข่าวเด่น ดิจิทัล ‘ระบบพยากรณ์อากาศด้วย AI’ ฝีมือ นักวิจัยจีน แสดงศักยภาพบนเวทีโลก

‘ระบบพยากรณ์อากาศด้วย AI’ ฝีมือ นักวิจัยจีน แสดงศักยภาพบนเวทีโลก

16 second read
0
0
188

ปักกิ่ง, 15 ก.ค. (ซินหัว) — สำหรับชาวประมงนั้นการพยากรณ์อากาศเปรียบเหมือนเข็มทิศกำหนด การดำเนินชีวิต และหาเลี้ยงชีพ ด้วยเหตุนี้ ดร. ไป๋เล่ย นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ จากห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์เซี่ยงไฮ้ จึงใช้เวลาหลายปี ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างใกล้ชิด แม้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ จะเป็นอุปสรรคที่สร้างความท้อใจให้กับเขา แต่ก็ทำให้ ไป๋ มีความมุ่งมั่นตั้งใจมากขึ้น ที่จะผลักดันโครงการแบบจำลองการพยากรณ์อากาศ ด้วยปัญญาประดิษฐ์ของตน

ภูมิภาคแปซิฟิกเหนือฝั่งตะวันตก ที่ติดกับจีนเป็นพื้นที่ที่ประสบพายุไต้ฝุ่นมากกว่าหนึ่งในสามของโลก การพยากรณ์ไต้ฝุ่นที่แม่นยำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อการบรรเทาความสูญเสียจากภัยพิบัติ และในที่สุด แบบจำลองสภาพอากาศเฟิงอู (Fengwu weather model) ก็ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นทกซูรี โดยช่วยลดอัตราความผิดพลาดลงเหลือ 38.7 กิโลเมตร ล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ซึ่งดีกว่าอัตราก่อนหน้านี้ซึ่งอยู่ที่ 54.11 กิโลเมตร ที่พยากรณ์โดยศูนย์พยากรณ์อากาศพิสัยกลางยุโรป และ 54.98 กิโลเมตร จากศูนย์พยากรณ์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสหรัฐฯ

เมื่อปี 2022 ไป๋ได้จัดตั้งทีมวิจัยแบบจำลองสภาพอากาศเฟิงอูขึ้น ก่อนจะพัฒนาแบบจำลอง ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์นี้ จนสามารถพยากรณ์อากาศได้ด้วยความแม่นยำสูงในระดับ 10 วัน ล่วงหน้า ภายในเวลา แค่ 30 วินาที ซึ่งถือว่า มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแบบจำลองทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ

ปี 2024 ห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์เซี่ยงไฮ้ ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่แบบจำลองขนาดใหญ่พยากรณ์อากาศด้วยปัญญาประดิษฐ์ความละเอียดสูงระดับโลก “เฟิงอู จีเอชอาร์” (Fengwu GHR) ซึ่งมีความสามารถในการพยากรณ์ที่แม่นยำกว่า “เฟิงอู” รุ่นแรกเป็นอย่างมาก

ไป๋ กล่าว ในการประชุมนักพัฒนาระดับโลกประจำปี 2024 ว่า เฟิงอู จีอาร์เอชได้ค่อยๆ พัฒนาเป็นระบบพยากรณ์อากาศ และมหาสมุทรที่ประกอบด้วยแบบจำลองต่างๆ มากมาย

เมื่อเดือนสิงหาคม 2023 ณ การประชุมประจำปีของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติประจำเอเชียและคณะกรรมการอุตุนิยมวิทยาแปซิฟิก/โลก (WMO) ทีมแบบจำลองอุตุนิยมวิทยาขนาดใหญ่เฟิงอูได้นำเสนอการใช้งานแบบจำลองดังกล่าว ดึงดูดความสนใจของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาจากประเทศต่างๆ เช่น กัมพูชา และเวียดนาม ขณะเดียวกัน ทีมเฟิงอูได้บรรลุข้อตกลงกับสถาบันวิจัยอุตุนิยมวิทยาหลายแห่ง

เพื่อร่วมกันสำรวจว่าจะสามารถใช้เฟิงอูในการพยากรณ์รายวันและการพยากรณ์พายุไต้ฝุ่นและสภาพอากาศสุดขั้วอื่นๆ ในปากีสถานและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างไรบ้าง

(เรียบเรียง โดย Luo Hao, Xinhua Silk Road, https://www.xinhuathai.com/silkroad/450305_20240715 , https://en.imsilkroad.com/p/340960.html)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : อังคาร 16 กรกฎาคม 2567  11:13:59 เข้าชม : 1689225 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ข่าวเด่น ดิจิทัล
Comments are closed.

Check Also

อบจ.ภูเก็ต ร่วมให้ข้อมูล เพื่อการประเมินศักยภาพของ จ.ภูเก็ต ในการพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยว โดย องค์กรการท่องเที่ยวยั่งยืนโลก

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา นายอานุภาพ เวชว … …