
ปักกิ่ง, 1 เม.ย. (ซินหัว) — จีนและ 5 ประเทศลุ่มน้ำแม่โขง ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม ได้บรรลุความครอบคลุมทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคีในการสร้าง “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ” เป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่น และความร่วมมือระหว่างกัน อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มีการจัดตั้งกลไกความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMC) ในปี 2016
การเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานถือเป็นหัวใจสำคัญ โดยโครงการต่างๆ เช่น รถไฟจีน-ลาว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ตัวอย่าง เช่น ตู้คอนเทนเนอร์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขนส่งไปยังตลาดท้องถิ่น อย่างรวดเร็ว ผ่านระบบอัตโนมัติที่สถานีหวังเจียอิ๋ง ตะวันตกในนครคุนหมิง
เขตว่านโจว นครฉงชิ่ง ได้กลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ ที่เชื่อมภูมิภาคตอนกลาง และตะวันตกของจีน กับภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขง โดยในปี 2024 เพียงปีเดียว มีมูลค่าสินค้าส่งออกถึง 146 ล้านหยวน (ราว 680 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ภาคธุรกิจมีบทบาทขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านการขนส่ง โดย บริษัทอวิ๋นเทียนฮว่า กรุ๊ป (Yuntianhua Group) ได้เปิดให้บริการรถไฟขนส่งจีน-ลาว-ไทย สำหรับจัดส่งปุ๋ยแบบส่งถึงที่ ขณะเดียวกัน รถไฟจีน-ลาวมีการเพิ่มประเภทสินค้าที่จนส่งจนแตะ มากกว่า 3,000 รายการ และเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟขนส่งจีน-ยุโรป
การค้าระหว่างจีน กับประเทศลุ่มน้ำแม่โขง ในปี 2024 มีมูลค่ารวม 4.37 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 14.86 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 125 เมื่อเทียบกับช่วงเริ่มต้นของกลไกความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง โดยมีทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นรูปธรรม และการประสานงานด้านกฎระเบียบ เป็นแรงผลักดันสำคัญ
นครคุนหมิง ได้ริเริ่มระบบศุลกากรอัจฉริยะ สำหรับรถไฟขนส่งสินค้า ซึ่งช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ระหว่างเวียงจันทน์ และคุนหมิง ได้มากถึงร้อยละ 50 พร้อมกันนั้นยังมีบริการด้านการลงทุน ที่ช่วยให้นักลงทุนต่างชาติ ขอใบอนุญาตทางธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการดึงดูดภาคธุรกิจจากต่างประเทศ
นวัตกรรมถือเป็นเสาหลักของการเติบโต โดย ทั้ง 6 ประเทศ ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ความร่วมมือ ด้านนวัตกรรมความร่วมมือ ล้านช้าง-แม่โขง ขณะที่เมื่อปลายปี 2023 ในงานมอเตอร์โชว์นานาชาติ ที่กรุงเทพฯ บริษัทรถยนต์จีน ได้นำเสนอเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และแบตเตอรี่ โดยครองพื้นที่จัดแสดงถึงร้อยละ 40 ของงาน
บริษัทจีน อย่างบีวายดี (BYD) และจีเอซี (GAC) ได้ลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ขณะที่ศูนย์ความร่วมมือด้านนวัตกรรมเอไอ (AI) จีน-ลาว ในนครเวียงจันทน์ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีกับอาเซียน
การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนของแต่ละประเทศ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ผ่านการท่องเที่ยวข้ามแดนและเมืองพี่เมืองน้อง โดยรถไฟสตาร์เอ็กซ์เพรส (StarExpress) ล้านช้าง-แม่โขง ได้เริ่มให้บริการ ในปี 2024 เชื่อมคุนหมิงกับเวียงจันทน์ ผ่านหลวงพระบางความร่วมมือระหว่าง นครกว่างโจว และเชียงใหม่ เป็นภาพสะท้อนของสายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่แน่นแฟ้นขึ้น โดยปัจจุบันมีเมืองพี่น้องระหว่างจีนกับประเทศลุ่มน้ำแม่โขงมากกว่า 160 คู่เมือง สะท้อนวิสัยทัศน์ของกลไกล้านช้าง-แม่โขง ที่เริ่มเป็นรูปธรรม ผ่านความเข้าใจร่วมกัน และความมั่งคั่งที่แบ่งปันได้อย่างแท้จริง
ที่มา : https://www.xinhuathai.com/silkroad/506298_20250401 , https://en.imsilkroad.com/p/344986.html————————————————————————————
———————————————
ภาพประกอบข่าว
(แฟ้มภาพซินหัว : รถไฟสินค้านานาชาติบนเส้นทางรถไฟ จีน-ลาว ที่สถานีหวังเจียอิ๋ง ตะวันตกในนครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 2 ม.ค. 2025)
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 4 เมษายน 2568 16:00:00 เข้าชม : 1897211 ครั้ง