Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส แนะองค์กรลงทุน เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจ เนื่องในวันอนามัยโลก

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส แนะองค์กรลงทุน เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจ เนื่องในวันอนามัยโลก

15 second read
0
0
252

กรุงเทพ – เนื่องในวันอนามัยโลก (World Health Day) ซึ่งถือเป็นวันที่ช่วยเตือนให้ผู้ประกอบธุรกิจ หันมาใส่ใจสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน อันเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ผลการดำเนินงานขององค์กร อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) บริษัทผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และความมั่นคงปลอดภัยชั้นนำของโลก ส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรต่าง ๆ ตระหนักถึงสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมด้านสุขภาพภายในองค์กรอย่างแข็งขัน

เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (World Economic Forum: WEF) ประมาณการ ว่า ในแต่ละปี การสูญเสียความสามารถในการผลิตอันเนื่องมาจากสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ของพนักงาน นั้น ทำให้นายจ้างทั่วโลกได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่า ถึง 5.3 แสนล้านดอลลาร์1 ยิ่งไปกว่านั้น ในแต่ละปี ยังมีรายงานอุบัติเหตุจากการทำงาน และความเจ็บป่วยจากการทำงานหลายล้านครั้ง ทั่วโลก2

โปรแกรมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน จะช่วยลดผลกระทบเหล่านี้ได้ โดยรายงานผลตอบแทนจากการลงทุน เพื่อดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (The Return on Prevention) ของมูลนิธิ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS Foundation) ระบุ ว่า องค์กรต่าง ๆ สามารถคาดหวังผลตอบแทนที่ระดับ 2.53 ดอลลาร์ จากเงินลงทุนทุก 1 ดอลลาร์ที่ได้ลงทุนในโปรแกรมดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน นอกจากนี้ การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ยังช่วยเพิ่มศักยภาพขององค์กร ในการดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถให้เข้ามาร่วมงาน และอยู่กับองค์กรต่อไป โดยผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงทั่วโลก ถึง 82 % ต่างยอมรับในความสำคัญของการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

นพ.จามร เงินจารี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส แสดงความคิดเห็นว่า “แนวคิดหลักของวันอนามัยโลกปีนี้ คือ “สุขภาพของฉันคือสิทธิ์ของฉัน” (My health, my right) โดยองค์กรต่าง ๆ สามารถใช้โอกาสนี้ส่งเสริมสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ด้วยการสนับสนุนให้พนักงานดูแลสุขภาพของตนเอง อย่างจริงจัง ในขณะที่วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย และดีต่อสุขภาพ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ อากาศบริสุทธิ์ น้ำดื่มสะอาดปลอดภัย และอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งนี้ ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน การทำงานอยู่กับที่ และข้อจำกัดในการเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นับเป็นอุปสรรคในการสร้างอุปนิสัย เพื่อสุขภาพที่ดีของพนักงาน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ในที่ทำงานสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วม และประสิทธิภาพของพนักงานได้ อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการขาดงาน และในท้ายที่สุด ก็จะช่วยให้องค์กรมีความแข็งแกร่งขึ้น และประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น”

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส นำเสนอกลยุทธ์ที่สำคัญ 5 ประการ ซึ่งองค์กรสามารถนำไปใช้เพื่อยกระดับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ดังนี้

  1. พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีอย่างครอบคลุม: จัดหาข้อมูลและทรัพยากรด้านสุขภาพที่จำเป็นให้แก่พนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ และการสนับสนุนทางด้านสุขภาพจิต
  2. ปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานที่ดีต่อสุขภาพโดยให้ความสำคัญกับสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี: ส่งเสริมให้พนักงานพักเบรกจากการทำงานเป็นระยะ เปิดโอกาสให้พนักงาน ได้เคลื่อนไหวร่างกาย และจัดหาอาหารเพื่อสุขภาพในที่ทำงาน
  3. จัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีความยืดหยุ่น : กลยุทธ์นี้ จะช่วยส่งเสริมให้พนักงานสามารถบริหารจัดการความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยลดความเครียด
  4. นำเสนอโปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (EAP) และบริการให้คำปรึกษาที่เป็นความลับ: ช่วยให้พนักงานรู้สึกสะดวกใจที่จะขอความช่วยเหลือ เมื่อต้องการ
  5. ลงทุนด้านการฝึกอบรมให้กับผู้จัดการ : เพื่อให้พนักงานระดับผู้จัดการ สามารถระบุ และจัดการกับความกังวล ด้านสวัสดิภาพของพนักงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เรียนรู้เพิ่มเติม ว่า เราสามารถสนับสนุนพนักงานทั่วโลก ได้อย่างไร กรุณาคลิกที่นี่

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ :  อังคาร  9  เมษายน  2567 18:00:00 เข้าชม : 1594378 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

OR เปิดโครงการ OR Seeding the Future ASEAN Camp 2024 ครั้งที่ 8

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. … …