ปักกิ่ง, 15 ต.ค. (ซินหัว) — การปลูกแพร์พันธุ์ “เชอโถว” (Chetou) กำลังกลายเป็นจุดเด่นใหม่ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในชนบทของตำบลหม่ามู่ฉือ เมืองหลินอี๋ มณฑลซานตงทางตะวันออกของจีน
หม่ามู่ฉือได้รับการขนานนามว่า “บ้านเกิดของลูกแพร์” มีสวนแพร์ที่สวยงาม ดอกแพร์ที่บานสะพรั่ง เกิดเป็นทัศนียภาพที่งดงามในทุกๆ ปี
หม่ามู่ฉือ ได้จัดตั้งสมาคมปลูกลูกแพร์เชอโถวขึ้น เมื่อปี 2019 โดยมุ่งให้ชาวบ้านได้ประโยชน์จากผลไม้ชนิดนี้มากขึ้น โดยมีการผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญของอุตสาหกรรมนี้ในด้านเทคโนโลยีและการจัดการเพื่อกำหนดมาตรฐานกระบวนการปลูก การคัดเลือกพันธุ์ และการส่งเสริมทางเทคนิค
เมื่อปี 2020 รัฐบาลระดับตำบลหม่ามู่ฉือได้วางแผนก่อสร้างสวนอุตสาหกรรมลูกแพร์ชอโถว ขนาด 1,000 เอเคอร์ พร้อมจุดชมวิวและลานจอดรถ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมและพักผ่อนหย่อนใจ
ปัจจุบันสวนแพร์เชอโถว เจริญเติบโตเนื่องจากการพัฒนาของอุตสาหกรรม โดยให้ผลผลิตต่อปีสูง ถึง 1,000 ตัน และมูลค่าผลผลิตเกิน 10 ล้านหยวน (ราว 470 ล้านบาท) ต่อปี
การปลูกลูกแพร์ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรในท้องถิ่น แต่ยังช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูชนบท ในเขตเมือง
แพร์ “เชอโถว” เป็นแพร์พันธุ์หายากที่ตั้งชื่อตามรูปร่างของจักรยานล้อเดียวในสมัยก่อนของซานตง โดยในอดีต ลูกแพร์ชนิดนี้ได้รับการยกย่องด้านคุณสมบัติการช่วยดับกระหาย และได้รับฉายาว่า “ลูกแพร์อายุวัฒนะ”
(เรียบเรียง โดย Tian Shenyoujia, Xinhua Silk Road, https://www.xinhuathai.com/silkroad/471027_20241015 , https://en.imsilkroad.com/p/342472.html)
———————————————————————————————————————————
ภาพประกอบข่าว
(ภาพถ่ายโดยหลินอี๋ : ลูกแพร์ “เชอโถว” ในสวนแพร์แห่งหนึ่งในตำบลหม่ามู่ฉือ เมืองหลินอี๋ มณฑลซานตง ทางตะวันออกของจีน)
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : พุธ 16 ตุลาคม 2567 12:55:59 เข้าชม 1689252 ครั้ง