
โครงการประกวด“ศิลปกรรมช้างเผือก” โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัดโครงการประกวด ครั้งที่ 14 ในหัวข้อ “น้ำกับความเปลี่ยนแปลง” อันเนื่องมาจากความตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ และผลกระทบของน้ำต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพื่อให้ศิลปินได้สร้างสรรค์ และสื่อสารแนวคิดร่วมสร้างสมดุลโลก ผ่านผลงานของศิลปินแต่ละราย โดย คณะกรรมการ 8 ท่าน ประกอบด้วย คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร ศาสตราจารย์เกียรติคุณถาวร โกอุดมวิทย์ ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง คุณนิติกร กรัยวิเชียร คุณต้องใจ ธนะชานันท์ และคุณมนุรดา พรชนะรักษ์ ได้ตัดสินให้ผลงาน “ตะเพี๊ยนตะเพียน” ได้รับรางวัลช้างผือก และรางวัลอื่นรวม 21 รางวัล เพื่อจัดแสดงในนิทรรศการร่วมกับผลงาน ที่ได้รับคัดเลือกอีก 29 ผลงาน จากผลงานที่ส่งเข้าประกวด ทั้งสิ้น 458 ผลงาน
ผลงานที่ได้รับรางวัลช้างเผือก ได้แก่ “ตะเพี๊ยนตะเพียน” โดย คุณนิรัชพร น่วมเจิม รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ “Waterworld” โดย คุณเญอรินดา แก้วสุวรรณ รับเงินรางวัล 500,000 บาท รางวัลคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ได้แก่ “ธาราแห่งความงอกงาม” โดย คุณธีรพล สีสังข์ รับเงินรางวัล 400,000 บาท รางวัล CEO AWARD ได้แก่ “จุดเริ่มต้น – Genesis” โดย คุณนารา วิบูลย์สันติพงศ์ รับเงินรางวัล 250,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีรางวัลรองชนะเลิศ 5 รางวัล รางวัลละ 200,000 บาท ประกอบด้วย คุณพงศ์ศิริ คิดดี คุณสิทธิพนธ์ เลาะไชยสงค์ คุณอนันต์ยศ จันทร์นวล คุณธีรพล โพธิ์เปี้ยศรี คุณบุญมี แสงขำ และรางวัลชมเชยอีก 12 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท รวมเงินรางวัล ทั้งสิ้น 4,350,000 บาท
คุณนิติกร กรัยวิเชียร ผู้อำนวยการ โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า “การประกวดศิลปกรรมช้างเผือก เกิดจากความตั้งใจอันดีของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเฟ้นหาศิลปินไทยรุ่นใหม่ ที่มีทักษะความสามารถทางศิลปะอันโดดเด่น ในการสร้างสรรค์ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) และศิลปะรูปลักษณ์ (Figurative Art) โดยยึดถือความเหมือนจริงเป็นแก่นสำคัญ เพื่อให้ผลงานศิลปะเหล่านี้ เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สำคัญ ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านศิลปะร่วมสมัยให้ขยายไปสู่การรับรู้ของสังคมในวงกว้าง การดำเนินการประกวดศิลปกรรมช้างเผือก เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 และดำเนินงานต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นประจำทุกปี โดย ในปี พ.ศ.2568 นับเป็นการจัดการประกวดครั้งที่ 14 ‘น้ำกับความเปลี่ยนแปลง’ เพื่อให้ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้แสดงฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์ โดยตีความจากโจทย์ที่กำหนดให้ ซึ่งศิลปินที่เข้าร่วมประกวดแต่ละคน ก็ต่างสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจในรูปแบบ และแนวทางที่แตกต่าง ได้อย่างน่าประทับใจ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร คณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า “น้ำกับความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะว่า ธรรมชาติที่สำคัญที่สุด ก็คือ น้ำ น้ำเป็นสิ่งที่ให้ชีวิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันดูแลน้ำและสิ่งแวดล้อม ภาพรวมของผลงานในปีนี้ มีความรู้สึกว่างานมันมีความสุข มันมีอะไรที่เป็นเชิงบวกมากขึ้น ถึงแม้ว่าในแง่ของประเด็นน้ำ ยังเป็นประเด็นในสังคม แต่คิดว่างานที่ได้รับรางวัลช้างเผือก มั่นใจว่า ทุกคนมองมา ต้องอมยิ้ม ไม่ว่า จะด้วยเสียงเพลง หรือการเล่นกับไฟ ถ้าเกิดเรามองลึกเข้าไปในรายละเอียด จะเห็นเด็กที่มาเล่นน้ำ มีคนหลากหลายอายุที่สะท้อนให้เห็นว่า ชีวิตวิถีของคนไทยอยู่กับน้ำมาโดยตลอด”
ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร คณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า “น้ำ คือ 70% ของโลกใบนี้ น้ำมีความสำคัญมาก แม้แต่ในร่างการของมนุษย์ น้ำก็มี 70% เหมือนกัน ผมคิดว่า ศิลปิน หรือคนทำงานศิลปะ มีจิตสำนึก ซึ่งเป็นหัวข้อในปีนี้ คือ จะทำอย่างไร ที่จะทำให้น้ำยังคงอยู่บนโลกนี้ ภาพรวมของผลงานในปีนี้ เราจัดงานศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 14 แล้ว เพราะฉะนั้น งานที่เราได้รับในปีนี้ มีทั้งคนเก่าและคนใหม่ เรามองถึงบุคลิกภาพของศิลปินแต่ละคน จะเห็นถึงพัฒนาการของศิลปิน ทำให้เรารู้สึกดีใจ ในวันนี้เป็นปีที่ภูมิใจ อาจจะเป็นเพราะว่างานของเรา เป็นงานที่เหมือนจริง แต่เราต้องคิดว่างานศิลปะทุกชิ้น ทั้งงานที่เหมือนจริง กับนามธรรม ผสมกันอยู่ทั้งสองอย่างนี้สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นงานที่ดี ฝีมือดี ทักษะดี ต้องมีความคิดด้วย อันนี้สำคัญที่สุด”
ศาสตราจารย์เกียรติคุณถาวร โกอุดมวิทย์ คณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า “ในปีนี้ หัวข้อ เรื่องน้ำ ศิลปินสามารถถ่ายทอด หรือแสดงออกตามอัตลักษณ์ของแต่ละคนออกมาได้ดี ภาพรวมผมคิดว่า ผลงานดีขึ้นทุกปี ในปีนี้ เราได้เห็นผลงานหลายชิ้นที่มีเอกลักษณ์ลักษณะโดดเด่น โดยเฉพาะผลงานที่ได้รับรางวัลช้างเผือก มีลักษณะเป็นสามมิติ แสดงถึงแสงสีเสียง และความสนุกสนาน ที่สำคัญที่สุดคือมีลักษณะการเล่นและอัตลักษณ์ที่มีความเป็นไทยเป็นที่น่าชื่นชม สำหรับความสำเร็จของโครงการฯ คือการพัฒนาหรือต่อยอดทักษะของศิลปินบ้านเรา และเรื่องของผลงานศิลปะที่คนเฝ้ามองมากที่สุด เพราะจัดต่อเนื่องมา 14 ปี แล้ว คือการสร้างสรรค์ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) และศิลปะรูปลักษณ์ (Figurative Art) อาจจะเป็นเวทีเดียวในประเทศไทย”
ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง คณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า “น้ำกับความเปลี่ยนแปลง เป็นหัวข้อที่เชื่อมโยงได้เยอะมาก ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ผมคิดว่า น้ำเกี่ยวข้องกับความเป็นไทย เช่นประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น ในขณะเดียวกันปัจจุบันก็มีเรื่องของสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่ อาคารบ้านเรือนที่มีความเจริญ การแสดงงานในครั้งนี้ ศิลปินพยายามสะท้อนความหลากหลาย เพราะฉะนั้นการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ ทำให้ศิลปินสามารถแสดงออกด้วยเทคนิค และจินตนาการที่มีความหลากหลาย และเป็นนิทรรศการที่มีความน่าสนใจมาก”
ข้าพเจ้านำเรื่องราวความประทับใจ ในกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวของสังคมชนบทอีสานของตนเอง มาเป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์วิถี สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ผ่านเทคนิคกระบวนการเย็บปักเส้นด้าย ร้องเรียงเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ผสานพลังความสามัคคี ก่อเกิดความสุขของการร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภายใต้การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย สามารถปรับประยุกต์วิถีชีวิตให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างกลมกลืน
โดยยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ตรัสถึง “ความพอเพียงสร้างได้ก็ต่อ เมื่อคนในชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน” เป็นประโยคที่จุดประกายความคิดให้ข้าพเจ้าเล็งเห็นถึงการมีส่วนร่วมจากส่วนรวม เพื่อสร้างสรรค์ และสานสัมพันธ์ชุมชนไทยให้ยั่งยืน สืบไปนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 14 จัดแสดงผลงาน “น้ำกับความเปลี่ยนแปลง” ณ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ วันนี้ – 11 พฤษภาคม 2568 โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธาน เปิดงานแสดง และพระราชทานรางวัล ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 นอกจากนี้ ผลงานบางส่วนนำไปจัดแสดงให้ชมอีกครั้ง ในงาน SX2025 ระหว่าง วันที่ 26 กันยายน – 5 ตุลาคม 2568
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : พุธ 2 เมษายน 2568 20:00:00 เข้าชม : 1689114 ครั้ง