Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ “โบซานคายา” จากตุรกี ร่วมกับ กลุ่มบริษัทพันธมิตร “ซีเมนส์ โมบิลิตี้” และ “เอสที เอ็นจิเนียริ่ง เออร์เบิน โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด” ลงนามสัญญาผลิตรถไฟฟ้า 53 ขบวนให้กรุงเทพมหานคร

“โบซานคายา” จากตุรกี ร่วมกับ กลุ่มบริษัทพันธมิตร “ซีเมนส์ โมบิลิตี้” และ “เอสที เอ็นจิเนียริ่ง เออร์เบิน โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด” ลงนามสัญญาผลิตรถไฟฟ้า 53 ขบวนให้กรุงเทพมหานคร

1 min read
0
0
96

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 6 กุมภาพันธ์ 2568  บริษัท โบซานคายา (Bozankaya) และกลุ่มบริษัทพันธมิตร ซีเมนส์ โมบิลิตี้ (Siemens Mobility) และ เอสที เอ็นจิเนียริ่ง เออร์เบิน โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ST Engineering Urban Solutions [Thailand] Ltd.) ลงนามในสัญญาฉบับใหม่ เพื่อผลิตรถไฟฟ้าจำนวน 53 ขบวน สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร รวมถึงการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และบริการซ่อมบำรุง โครงการล่าสุดนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จ ระหว่าง โบซานคายากับ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ในประเทศไทย หลังจากการส่งมอบรถไฟฟ้า 88 ขบวน เมื่อปี 2561

สัญญาดังกล่าว ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ระบบประตูกั้นชานชาลา และระบบหน้าจอแสดงข้อมูล เพื่อมอบโซลูชันการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูง และบูรณาการครบวงจร รถไฟฟ้าขบวนใหม่ได้รับการออกแบบด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายในกว้างขวาง และมีระบบแสดงผลข้อมูล ที่ได้รับการปรับปรุง เพื่อความสะดวกสบายของผู้โดยสาร

 จากอังการาสู่กรุงเทพมหานคร : เส้นทางสู่นวัตกรรมสีเขียว และความสำเร็จ

ด้วยความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย ซีเมนส์ โมบิลิตี้ และบริษัท เอสที เอ็นจิเนียริ่ง เออร์เบิน โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด โบซานคายาจะผลิตรถไฟฟ้าขบวนใหม่ 53 ขบวน ที่โรงงานอันทันสมัยในกรุงอังการา โดยจำนวน 32 ขบวน จะให้บริการในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มของกรุงเทพมหานคร และ 21 ขบวน จะให้บริการบนสายสีน้ำเงิน ทั้งนี้ สายสีส้ม เป็นเส้นทางเดินรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หรือ MRT ซึ่งจะให้บริการครอบคลุมระยะทาง 35.9 กม. และ 29 สถานี ด้วยรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ จำนวน 32 ขบวน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน หรือ MRT สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งเป็นเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายที่สามของกรุงเทพมหานครต่อจากสายสุขุมวิทและสายสีลมนั้น จะให้บริการด้วยขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้จำนวน 21 ขบวน โดยกำหนดส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าชุดแรกคือช่วงไตรมาสที่สามของปี 2569 และคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จภายในปี 2571 นอกจากนี้ ขอบเขตของสัญญายังครอบคลุมถึงบริการที่ครบวงจร เช่น ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบอาณัติสัญญาณ และบริการซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 15 ปี สัญญาจะแบ่งเป็นหลายระยะเริ่มตั้งแต่ปี 2567 จนกระทั้งสิ้นสุดในปี 2582

Aytunç Günay ประธานคณะกรรมการบริหารของโบซานคายา แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ว่า “โครงการของเราในกรุงเทพมหานครจะส่งเสริมสถานะของโบซานคายาในตลาดระบบรางระดับโลกให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น การผลิตรถไฟฟ้าให้กับมหานครใหญ่อย่างเมืองหลวงของประเทศไทยเปิดโอกาสให้เราได้แสดงศักยภาพทางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และความเป็นเลิศทางวิศวกรรมในระดับนานาชาติ ยิ่งไปกว่านั้น สัญญาฉบับนี้ จะยกระดับกำลังการผลิตในท้องถิ่นของเรา และสนับสนุนการส่งออกของตุรกีให้เติบโตขึ้นด้วย”

คำสัญญาของโบซานคายา : รองรับผู้โดยสารเต็มความจุได้มากกว่า 800 คน ในเที่ยวเดียว

ในฐานะแบรนด์ชั้นนำที่โดดเด่นเรื่องระบบขนส่งไฟฟ้า และขบวนรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รถไฟฟ้าประหยัดพลังงานเหล่านี้ได้รับการออกแบบมา เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านการขนส่ง ที่ยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร โดยจะนำเสนอทางเลือกการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ แต่ละขบวนจะสามารถรองรับผู้โดยสาร ได้มากกว่า 800 คน ในเที่ยวเดียว ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในเขตเมืองได้เป็นอย่างมาก

Mr. Günay ยังได้ชู ผลงานด้านการวิจัย และพัฒนาของโบซานคายา โดยกล่าวเพิ่มเติม ว่า “โครงการนี้ จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเป้าหมายการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูงของตุรกี การผลิตและการทดสอบรถไฟ จะดำเนินการที่ศูนย์ R&D ของโบซานคายาในกรุงอังการา ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรม และวิศวกรรมของบริษัท เราภูมิใจอย่างยิ่งในทีมวิศวกร R&D ทั้ง 150 คน และพนักงาน เกือบ 1,400 คน ในศูนย์ R&D ของบริษัท ซึ่งเมื่อรวมกับศูนย์การผลิตที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ 100,000 ตร.ม.ในกรุงอังการา แล้ว จึงทำให้โบซานคายา ครองตำแหน่งโรงงานผลิตขบวนรถไฟ ที่ใหญ่ที่สุด และทันสมัยที่สุด ในตุรกี”

About Bozankaya

Founded 36 years ago, Bozankaya has a strong track record as an innovator in developing and manufacturing environmentally friendly, energy-saving, low-noise, and low-cost vehicles for urban public transport. Bozankaya owns the intellectual property rights to the vehicles and technology produced at its vast production facilities, measuring 100.000 sqm. and located in Ankara. Maintaining a strong focus on R&D, the company has spent more than 50 million euros on 30 R&D projects. In June 2018, Bozankaya became the first Turkish company to export metro trains, with the first shipments going to the Green Line Project in Bangkok.

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ :  พฤหัสบดี 6 กุมภาพันธ์ 2568  11:48:59 เข้าชม : 1893622 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

บทวิเคราะห์ โลกต้องการพหุภาคี

การประชุมประจำปีของฟอรั่มเศรษฐกิจโลก ปี 2025 ภายใต้หัวข … …