Home ข่าวเด่น ดิจิทัล คนเลี้ยงสัตว์ ในจีน ร่วมพิทักษ์ ‘แม่น้ำล้านช้าง’ สายธารแห่งชีวิต ใน 6 ประเทศ

คนเลี้ยงสัตว์ ในจีน ร่วมพิทักษ์ ‘แม่น้ำล้านช้าง’ สายธารแห่งชีวิต ใน 6 ประเทศ

12 second read
0
0
334

ซีหนิง , 23 ม.ค. (ซินหัว) — ห้วงปี ที่ผ่านมา ความสุขที่สุดของ “หลี่ซวงเย่” สมาชิกทีมลาดตระเวน เพื่อสนับสนุนนโยบายห้ามจับปลาในแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำหลานชาง (ล้านช้าง) ช่วงอำเภอจ๋าตัว มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน คือ การกลับมาของ “ปลาดุกซี่เหว่ย” ที่สูญหายจากตอนบนของแม่น้ำหลานชาง นานกว่า 40 ปี

แม่น้ำหลานชาง (แม่น้ำล้านช้าง/แม่น้ำโขง) นั้น มีต้นกำเนิดที่อำเภอจ๋าตัว แคว้นปกครองตนเองอวี้ซู่ กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต ของชิงไห่ ถือเป็นหนึ่งในระบบน้ำข้ามประเทศที่มีความสำคัญมากที่สุด ในเอเชีย ไหลจากเหนือลงใต้ ผ่านจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีน ใต้ในท้ายที่สุด ทั้งยังเป็นแม่น้ำสายยาวที่สุด อันดับ 6 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย

อำเภอจ๋าตัว ได้ก่อตั้งทีมลาดตระเวน เพื่อสนับสนุนนโยบายห้ามจับปลา ในแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำหลานชาง เมื่อปี 2021 โดยทำหน้าที่ลาดตระเวนประจำวัน กำกับดูแลการห้ามจับปลา และการสนับสนุนทางนโยบาย ในพื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำหลานชาง ซึ่งปัจจุบันทีมลาดตระเวนมีสมาชิก ทั้งหมด 66 คน แล้ว

หลี่ เผยว่า คณะนักวิทยาศาสตร์พบเจอ ปลาดุกซี่เหว่ย ระหว่างสำรวจพื้นที่ เมื่อเดือนสิงหาคม 2023 ซึ่งการกลับมาปรากฏตัวของปลาดุกนี้ สะท้อนผลสำเร็จ การทำงานคุ้มครองระบบนิเวศของพวกเขา และพิสูจน์ถึงความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาของพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำหลานชาง ที่ได้รับการดูแลรักษา อย่างมีประสิทธิภาพ

การกลับมาปรากฏตัวของปลาดุกซี่เหว่ย นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผล จากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนเลี้ยงสัตว์ ริมฝั่งแม่น้ำหลานชางมาเป็นผู้พิทักษ์ธรรมชาติ หลังจากมีการดำเนินโครงการนำร่อง ระบบอุทยานแห่งชาติ ซานเจียงหยวน อย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2016 ซึ่งมุ่งคุ้มครองพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำหลานชาง ตัดลดกิจกรรมของมนุษย์ รวมถึงปกป้องแหล่งน้ำ และทุ่งหญ้า

ด้าน ตำบลอั๋งไซ่ ในอำเภอจ๋าตัว ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าคุ้มครองระดับสูงสุดของจีน อย่างเสือดาวหิมะ ได้ดำเนินโครงการนำร่องสร้างประสบการณ์สัมผัสธรรมชาติ เมื่อปี 2019 เพื่อดึงดูดผู้คนมาเยี่ยมชมธรรมชาติและสัตว์ป่า ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยพลิกชีวิตของเหล่าคนเลี้ยงสัตว์ท้องถิ่น เช่นกัน

อี้ซี อายุ 52 ปี เป็นหนึ่งในคนเลี้ยงสัตว์ของตำบลอั๋งไซ่ ชุดแรก ที่ผันตัวมาเป็นมัคคุเทศก์นำเที่ยว ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการนำร่องสร้างประสบการณ์สัมผัสธรรมชาติ ดังกล่าว โดยเขาสามารถหารายได้จากการทำงานในบ้านเกิด พร้อมกับดูแลภูเขาปกป้องแม่น้ำ และพบปะเพื่อนฝูงจากทั่วทุกมุมโลก

“โครงการนำร่อง สร้างประสบการณ์สัมผัสธรรมชาตินี้ ช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชน และการคุ้มครองสัตว์ป่า ทำให้ทั้งคนและป่าได้รับประโยชน์ร่วมกัน” ไชวั่งตัวเจี๋ย ผู้นำตำบลอั๋งไซ่กล่าว

อนึ่ง แถลงการณ์เนปิดอว์ จากการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือ แม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 4 ของคณะผู้นำ จาก 6 ประเทศ (จีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม) เมื่อเดือนธันวาคม 2023 ระบุ การส่งเสริมการก่อสร้างประชาคม ที่มีอนาคตร่วมกันของกลุ่มประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และทำงานร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่การสร้างความทันสมัย

ภาพประกอบข่าว

(ภาพ จาก ผู้ให้สัมภาษณ์ : สมาชิกทีมลาดตระเวน เพื่อสนับสนุนนโยบายห้ามจับปลา ในแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำหลานชาง ทำความสะอาดแม่น้ำในอำเภอจ๋าตัว แคว้นปกครองตนเองอวี้ซู่ กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เดือนธันวาคม 2023)

(แฟ้มภาพซินหัว : อี้ซี จัดระเบียบรูปภาพบนผนังบ้านของเขา ในตำบลอั๋งไซ่ อำเภอจ๋าตัว แคว้นปกครองตนเองอวี้ซู่ กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 19 ส.ค. 2023)

(แฟ้มภาพซินหัว : ทิวทัศน์อุทยานต้นน้ำแม่น้ำหลานชาง สังกัด อุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน มณฑลชิงไห่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 19 ส.ค. 2023)

อ่านข่าวเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.xinhuathai.com/soc/413559_20240124

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ  จันทร์  29  มกราคม 2567  19:41:59 เข้าชม : 1873549 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ข่าวเด่น ดิจิทัล
Comments are closed.

Check Also

สมาคมสตรีภูเก็ต บริจาคเงิน จำนวน 200,000 บาท เพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์มะเร็งแห่งแรกของจังหวัดภูเก็ต “อาคารรังสีรักษา โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต”

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2567  ที่ผ่านมา สมาคมสตรีภูเก็ต บริ … …