ปักกิ่ง, 31 พ.ค. (ซินหัว) — ในช่วงไม่กี่ปี ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจีน เติบโตในระดับสูงขึ้น ผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่น ไปจนถึงการท่องเที่ยวอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย และการท่องเที่ยวสไตล์จีนที่กำลังมาแรง ทำให้รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศของจีนมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10.6 ระหว่างปี 2012-2021 และในช่วงปี 2012 – 2019 ยอดทริปเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นสองเท่า โดยตัวเลขทริปท่องเที่ยวแตะที่ 4.891 พันล้านครั้งในปี 2023 ส่งผลให้เกิดการบริโภครวม 4.91 ล้านล้านหยวน (ราว 24.81 ล้านล้านหยวน) ขณะไตรมาสแรกของปี 2024 การบริโภคการท่องเที่ยวภายในประเทศมีมูลค่าแตะ 1.52 ล้านล้านหยวน (ราว 7.68 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี
จีน มีตลาดการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงเป็นแหล่งนักท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุด และเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ภูมิภาคต่าง ๆ ในจีนยังคงเดินหน้าสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวของตนเองที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น และพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ๆ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับการท่องเที่ยวท้องถิ่น
ยกตัวอย่าง เช่น นักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาในเมืองจือโป๋ มณฑลซานตง ทางตะวันออกของจีน เพื่อรับประทานเนื้อย่างสูตรพิเศษและซุปหมาล่า ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงอิทธิพลของ “เศรษฐกิจอินฟลูเอนเซอร์” ที่เหล่าคนดังมีอิทธิพลต่อหารตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้คน
ขณะที่เมืองเหวินชาง ในมณฑลไห่หนานทางตอนใต้ของจีน ได้พัฒนา “การท่องเที่ยวทางอวกาศ” อย่างรวดเร็ว โดยใช้ประโยชน์จากการปล่อยยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ 6 (Chang’e 6) ของจีน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาร่วมชมการปล่อยจรวด
เมื่อต้นปี 2024 หน่วยงานด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ก็ได้เปิดตัวโครงการนำร่องระดับชาติชุดแรก เพื่อการพัฒนาพื้นที่ประสบการณ์การท่องเที่ยวอัจฉริยะแบบดำดิ่ง จำนวน 42 โครงการ
ตัวอย่าง เช่น พื้นที่สัมผัสประสบการณ์คลองใหญ่หรือคลองขุดต้าอวิ้นเหอผ่านเทคโนโลยี 5G ณ พิพิธภัณฑ์ในเมืองหยางโจวมณฑลเจียงซู หรือสัมผัสประสบการณ์โลกเสมือนในธีม “ย้อนอดีตสู่ถังราวความฝัน” (A Dreamlike Time Travel to Tang Dynasty) ที่อ่าวเนียนฮวา ในเมืองอู๋ซีมณฑลเจียงซู
หวังจินเหว่ย ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนานาชาติศึกษาปักกิ่ง (Beijing International Studies University) กล่าวว่าความต้องการของผู้คนมีความหลากหลายและแตกต่างมากขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ คลังข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) และปัญญาประดิษญ์ (AI) จึงได้รับการบูรณาการอย่างลึกซึ้งเข้ากับสถานการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ เพื่อปรับปรุงอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพสูงขึ้น
ทั้งนี้ ช่วงวันหยุดวันแรงงานที่ผ่านมา จีน รายงาน ว่า พื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจำนวนหนึ่ง ที่ได้รับการสำรวจ รองรับนักท่องเที่ยวช่วงเวลากลางคืนรวม 72.57 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี
(เรียบเรียง โดย Yang Yifan, Xinhua Silk Road, https://www.xinhuathai.com/silkroad/440146_20240531 , https://en.imsilkroad.com/p/340302.html)
———————————————————————————————————————————
ภาพประกอบข่าว
(แฟ้มภาพซินหัว : นักท่องเที่ยวถ่ายภาพกับทิวทัศน์ธรรมชาติในอำเภออูซาน เทศบาลนครฉงชิ่ง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 16 พ.ค. 2024)
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 31 พฤษภาคม 2567 16:54:59 เข้าชม : 1896525 ครั้ง