Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์ ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประโยชน์มนุษยชาติ

บทวิเคราะห์ ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประโยชน์มนุษยชาติ

8 second read
0
0
272

การประชุมปัญญาประดิษฐ์โลก (WAIC) และการประชุมระดับสูง เกี่ยวกับการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ระดับโลก ประจำปี 2024 จัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ระหว่าง วันที่ 4-6 กรกฎาคมที่ผ่านมา การจัดประชุมครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ระดับโลก ที่เสนอ โดย นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประโยชน์มนุษยชาติ” (Governing AI for Good and for All) ได้สะท้อนให้เห็นถึงหลักการขั้นพื้นฐานของข้อริเริ่มธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ระดับโลก และเสียงเรียกร้องของประชาคมระหว่างประเทศ

ในพิธีเปิดการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้ ข้อริเริ่ม หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนตุลาคม 2023 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอข้อริเริ่มธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ ระดับโลก เพื่อเสนอแนวทางที่สร้างสรรค์ในการจัดการกับข้อกังวลของประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนา และการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ และแผนของจีน สำหรับการหารือ และการกำหนดกฎระเบียบระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อริเริ่มดังกล่าว ถือเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของจีน ในการมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ระดับโลก และเป็นแนวคิดสำคัญที่จีนนำเสนอให้กับทั่วโลก จีน ได้ปฏิบัติตามข้อริเริ่มนี้อย่างแข็งขันและมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งในการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ระดับโลก ซึ่งได้รับการยอมรับและชื่นชมอย่างกว้างขวางจากประชาคมระหว่างประเทศ

การประชุมปัญญาประดิษฐ์โลก (WAIC) ปี 2024 ได้สร้างแพลตฟอร์มที่สำคัญ สำหรับการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านปัญญาประดิษฐ์ ระหว่างประเทศ

ที่ประชุมครั้งนี้ ยึดมั่นในหลักการแห่งการเปิดกว้าง การยอมรับกัน และการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมกัน ได้เชิญชวนตัวแทนจากประเทศและภาคส่วนต่างๆ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนา การรักษาความปลอดภัย และการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ ตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนากลไก การกำกับดูแลที่เปิดกว้าง มีความยุติธรรม และมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งรับประกันว่า ความสำเร็จด้านนวัตกรรมของปัญญาประดิษฐ์ จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างแท้จริง

การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของจีน และความเป็นผู้นำที่สำคัญ ในการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ ระดับโลก นั้น แสดงให้เห็นถึงบทบาทของจีน ในฐานะประเทศใหญ่ ที่มีความรับผิดชอบ

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 78 ได้รับรองมติที่เสนอโดยจีนในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยมีประเทศต่าง ๆ กว่า 140 ประเทศ ให้การสนับสนุน

มตินี้ ถือเป็นมติฉบับแรกของสหประชาชาติ เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ มตินี้สะท้อนให้เห็นถึงหลักการสำคัญของข้อริเริ่มธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ ระดับโลก และข้อริเริ่มการพัฒนาระดับโลกอย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับความปรารถนาของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ ของสหประชาชาติ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา และแสดงถึงการสนับสนุนความเป็นพหุภาคี และสหประชาชาติอย่างกว้างขวาง และแข็งแกร่ง

มติดังกล่าว ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ อย่างครอบคลุมในทั่วโลก และได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง และการชื่นชมระดับสูงจากประชาคม ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศซีกโลกใต้ นับเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของจีน ในการปฏิบัติตามแนวคิดประชาคมมนุษย์ ที่มีอนาคตร่วมกันบนแพลตฟอร์มของสหประชาชาติ

การยอมรับมตินี้ อย่างเป็นเอกฉันท์ ยังสะท้อนให้เห็น ว่า ประเทศสมาชิกสหประชาชาติส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเสริมสร้างการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์โลกผ่านการพูดคุยเจรจา และความร่วมมือ นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงแนวทางที่มีความรับผิดชอบและความเป็นผู้นำที่สำคัญของจีนในการพัฒนา และการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ ขณะเดียวกันยังได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การใช้นโยบายกีดกันประเทศอื่น และแบ่งพรรคแบ่งพวกในการพัฒนา และการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ นั้น ไม่สอดคล้องกับกระแสแห่งยุคสมัย และผลประโยชน์ของทุกฝ่าย

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : ศุกร์ 26 กรกฎาคม 2567  02:21:59 เข้าชม : 1897323 ครั้ง

Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

นายก อบจ.ภูเก็ต ร่วมแสดงความคิดเห็น ในการเสนอชื่อครู ผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2568 ระดับ จ.ภูเก็ต

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 เวลา 09.30 น. ณ วิทยาลัยเทคน … …