Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์ การรักษาความปลอดภัยของสายเคเบิลใต้น้ำ

บทวิเคราะห์ การรักษาความปลอดภัยของสายเคเบิลใต้น้ำ

2 second read
0
0
461

ปัจจุบัน สายเคเบิลใต้น้ำเป็นรากฐาน ที่สําคัญของโลกาภิวัตน์ และการสื่อสารทั่วโลก สายเคเบิลใต้น้ำนับล้านกิโลเมตร ที่วางอยู่รอบโลกได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และการสื่อสารระหว่างทวีป อย่างไรก็ตาม สายเคเบิลใต้น้ำ อาจได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ การถูกทำลาย และความข้อบกพร่องทางเทคนิค ดังนั้น การรักษาความปลอดภัยของสายเคเบิลใต้น้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

สายเคเบิลใต้น้ำแบ่งออกเป็นสายสื่อสารใต้น้ำ และสายไฟใต้น้ำ สายเคเบิลใต้น้ำสมัยใหม่ใช้วัสดุไฟเบอร์ออปติกหรือ สายเคเบิลใยแก้วนําแสงในการส่งสัญญาณโทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ต ย้อนไปในปี ค.ศ. 1850 มีการวางสายเคเบิลใต้น้ำสายแรกของโลกระหว่างสหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส และในปี ค.ศ.1902 มีการวางสายเคเบิลสื่อสารใต้น้ำทั่วโลก สถิติระบุว่า ปัจจุบัน มีสายเคเบิลใต้น้ำ 428 สาย โดยมีความยาวรวมประมาณ 1.1 ล้านกิโลเมตร ให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการสื่อสารสําหรับประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก

สายเคเบิลใต้น้ำ เป็นวิธีสําคัญในการส่งกระแสไฟฟ้า และการสื่อสารระหว่างหมู่เกาะ และเมืองชายฝั่งต่าง ๆ สําหรับประเทศที่อยู่ชายฝั่งทะเล หรือประเทศหมู่เกาะ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตองกา ฟิจิ เป็นต้น สายเคเบิลใต้น้ำ เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ และจําเป็นต่อการทํางานประจําวันของสังคม เมื่อสายเคเบิลใต้น้ำเสียหายแล้ว อาจใช้เวลาหลายวันถึงหลายสัปดาห์หรือนานกว่านั้นในการซ่อมแซม เมื่อปี 2019 เรือลําหนึ่งทําให้สายเคเบิลใต้น้ำ เสียหายขณะทอดสมอ ทําให้ตองกาไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้เป็นเวลานานกว่าหนึ่งสัปดาห์ ในปี 2022 สายเคเบิลใต้น้ำที่เชื่อมต่อตองกา และฟิจิได้รับความเสียหายจากการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเล และต้องใช้เวลาในการซ่อมแซม ประมาณ 2 สัปดาห์

ตามปกติ เพื่อลดต้นทุน สายเคเบิล จะถูกวางในระยะห่างที่สั้นที่สุด ระหว่าง จุด 2 จุด บนพื้นผิวโลก และต้องวางตามตําแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะทำให้วางได้สะดวกขึ้น จึงเป็นเหตุผล ว่าทำไมสายเคเบิ้ลจำนวนมาก จึงมารวมตัวกันในจุดควบคุม เช่น หมู่เกาะฮาวาย คลองสุเอซ เกาะกวม และช่องแคบซุนดาในอินโดนีเซีย แต่พื้นที่เหล่านี้ มักจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ และไต้ฝุ่น ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจากหลายประเทศจึงกําลังพัฒนาวิธีการถ่ายโอนข้อมูลจากสายเคเบิลใต้น้ำ ไปยังระบบดาวเทียม ในกรณีที่เกิดความเสียหาย หรือ ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ที่น่าสังเกต คือ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่เพิ่มขึ้นได้จุดประกายให้เกิดความกลัวมากขึ้น  ว่าสายเคเบิลใต้น้ำอาจถูกโจมตี ในช่วงที่เกิดวิกฤตทางการทหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และการสื่อสารดิจิทัล เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2023 สายเคเบิลใต้น้ำทะเลบอลติก ได้รับความเสียหาย ทําให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญนี้ เมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา สายเคเบิลใยแก้วนําแสงใต้ทะเลแดง ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตร้อยละ 17 ของโลก เสียหายโดยไม่รู้สาเหตุแน่ชัด ทําให้ความตึงเครียดในภูมิภาคทะเลแดง ทวีความรุนแรงขึ้น

การโจมตี หรือก่อวินาศกรรมสายเคเบิลใต้น้ำ เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถละเลยได้ เพราะสิ่งนี้ อาจขัดขวางการสื่อสารทั่วโลกและนำไปสู่วิกฤตที่ใหญ่ยิ่งขึ้น ดังนั้น ทุกฝ่ายควรให้ความสําคัญ กับความปลอดภัยของสายเคเบิลใต้น้ำ และศึกษาค้นคว้าหาวิธีเพื่อให้แน่ใจถึงความหลากหลายของวิธีการสื่อสาร และลดการพึ่งพาระบบสื่อสารเคเบิลใต้น้ำ

เชื่อว่า ด้วยการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีเคเบิลใต้น้ำที่ล้ำหน้า ปลอดภัยกว่า และเชื่อถือได้มากขึ้น จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งจะให้การสนับสนุนที่มั่นคง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น สําหรับการสื่อสาร และการส่งข้อมูลของทั่วโลก

เขียนโดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ : อังคาร 6  สิงหาคม 2567  14:38:59 เข้าชม : 1897531 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

อบจ.ภูเก็ต ร่วมให้ข้อมูล เพื่อการประเมินศักยภาพของ จ.ภูเก็ต ในการพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยว โดย องค์กรการท่องเที่ยวยั่งยืนโลก

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา นายอานุภาพ เวชว … …