Home ข่าวเด่น ดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านสู่อัจฉริยะ-ดิจิทัล สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การเปลี่ยนผ่านสู่อัจฉริยะ-ดิจิทัล สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

37 second read
0
0
96

ปักกิ่ง, 1 ต.ค.  (ซินหัว) — การพัฒนาของเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) 5G และอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอัจฉริยะ และความเป็นดิจิทัลของอุตสาหกรรมการผลิตในจีน อย่างรวดเร็ว โดยเริ่มบูรณาการเข้ากับห่วงโซ่การผลิตหลัก และมอบโซลูชันที่ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพแก่ผู้ประกอบการ

ข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน (MIIT) ระบุว่า ประเทศจีนมี “โรงงานประภาคาร”  (Lighthouse Factory) หรือ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถใช้เทคโนโลยีใหม่มาสร้างประโยชน์ในเชิงธุรกิจ มากถึง 62 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของทั้งหมดในโลก ทั้งยังมีโรงงานสาธิตการผลิตอัจฉริยะ ระดับประเทศ 421 แห่ง และโรงงานดิจิทัลและโรงงานอัจฉริยะระดับประเทศ และมณฑล มากกว่า 10,000 แห่ง ซึ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัจฉริยะมาใช้ช่วยทำให้กระบวนการผลิตมีความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้นและช่วยลดต้นทุน จึงเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก

บริษัท เจียงซู คอนเทมโพรารี แอมเพอเร็กซ์ เทคโนโลยี จำกัด (Jiangsu Contemporary Amperex Technology Limited) หรือ JCATL ตั้งอยู่ในเมืองลี่หยาง มณฑลเจียงซู ได้รับการจัดให้เป็น “โรงงานประภาคาร” ช่วงปลายปี 2023 ซึ่งเป็นแห่งที่สามของบริษัทในเครือ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำของจีน โดย CATL มีดีกรีเป็นเจ้าของโรงงานประภาคารที่เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่ลิเธียม ซึ่งมีอยู่เพียงแค่สามแห่งในโลก

โรงงานผลิต และประกอบของ JCATL  ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่หนึ่งเซล์ได้ทุกหนึ่งวินาที และผลิตแพ็คของเซลล์แบตเตอรี่ได้ทุกสองนาทีครึ่ง ส่งผลให้กำลังการผลิตของ JCATL เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 320 ขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิต การปล่อยคาร์บอน และข้อบกพร่องด้านคุณภาพ ก็ลดลงร้อยละ 33 ร้อยละ 47.4 และ ร้อยละ 99 ตามลำดับ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้นำระบบการจัดการข้อมูลแบบบูรณาการ มาใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในทุกสิ่ง (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการประมวลผลข้อมูลในระบบคลาวด์ (cloud computing) ทำให้สามารถติดตามข้อมูลการผลิตแบบเรียลไทม์ รวมถึงสร้างความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบย้อนกลับในห่วงโซ่อุปทานได้

เมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอก ที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ผู้ประกอบการจำนวนมากเริ่มตระหนักว่าการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอัจฉริยะและดิจิทัลไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดและหนทางสร้างการเติบโตขององค์กร

เฉินเหยียนซุ่น ประธาน บริษัท บีโออี เทคโนโลยี กรุ๊ป จำกัด (BOE Technology Group Co., Ltd.)  ซึ่งเป็นผู้ผลิตหน้าจอแสดงผลชั้นนำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเอไออย่างมาก โดยจัดสรรเงินทุนวิจัยและพัฒนาร้อยละ 1.5 ให้กับการพัฒนาเอไอ บริษัทยังสร้างความสามารถทางเทคโนโลยีหลักในด้านโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (big model training) ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) IoT และอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการบูรณาการอย่างลึกซึ้งระหว่างเอไอกับอุตสาหกรรม

สำหรับอุตสาหกรรมดั้งเดิม การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอัจฉริยะและดิจิทัลถือเป็นบันไดสำคัญในการก้าวกระโดดไปสู่กำลังการผลิตที่มีคุณภาพและการสร้างนวัตกรรมใหม่ เลี่ยวเจิงไท่ ประธานกรรมการบริษัท ว่านหัว เคมีคอล (Wanhua Chemical) กล่าวว่า บริษัทได้ใช้การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและอัจฉริยะเป็นหลักสำคัญในการบริหารในปีนี้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาวิธีการผลิตให้เป็นระดับไฮเอนด์ อัจฉริยะ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในและการประสานงานภายนอกให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน และบรรลุการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง

เหรินเฟิง ซีอีโอร่วมของอินซิลิโค เมดิซิน (Insilico Medicine) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพชั้นนำระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเอไอ กล่าวว่า นอกจากอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์แล้ว เรายังสามารถนำเอไอไปใช้ในภาคเคมีสีเขียว (Green chemistry) เกษตรกรรม และอื่ ๆ ได้ด้วย  อาทิ ซินเจนทา กรุ๊ป (Syngenta Group) ซึ่งเป็นบริษัทนวัตกรรมการเกษตรได้ร่วมมือกับซิลิโค เมดิซิน เพื่อนำเอไอไปใช้ในด้านพฤกษศาสตร์ และเกษตรกรรม เพื่อค้นพบโมเลกุลใหม่ๆ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม เชื่อว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอัจฉริยะ และดิจิทัลได้พัฒนาจากกรณีศึกษาไปสู่การประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น และคาดว่าจะมีการขยายไปในวงกว้าง และจริงจังมากขึ้น ในหลายภาคส่วน

(เรียบเรียง โดย Yu Huichen, Xinhua Silk Road, https://www.xinhuathai.com/silkroad/468144_20241002 , https://en.imsilkroad.com/p/342330.html)

———————————————————————————————————————————

ภาพประกอบข่าว

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพถ่ายทางอากาศด้วยโดรน เผย ให้เห็นพนักงานคนหนึ่ง กำลังควบคุมเครื่องจักรดิจิทัล เพื่อผลิตชิ้นส่วนภายในโรงงานแห่งหนึ่ง ในเมืองอิ๋นชวน เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ :  พุธ 2 ตุลาคม  2567  13:34:59 เข้าชม 1698336 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ข่าวเด่น ดิจิทัล
Comments are closed.

Check Also

โก โฮลเซลล์ ส่งมอบวัตถุดิบคุณภาพดี ให้แก่ศูนย์ฝึกวิชาชีพ เขตบางคอแหลม สนับสนุนคนในชุมชน เติมทักษะวิชาชีพด้านอาหาร สร้างรายได้

โก โฮลเซลล์ (GO WHOLESALE) ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหาร จุด … …