Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ การยกระดับคุณภาพชีวิต สู่ เมืองอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี AI

การยกระดับคุณภาพชีวิต สู่ เมืองอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี AI

1 min read
0
0
314

เมืองอัจฉริยะทำหน้าที่เสมือนสนาม และพื้นที่ทดลองสำหรับเทคโนโลยี และหลักการสำคัญต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการผลักดันเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ หรือ “ยุคอุตสาหกรรม 5.0” นั่นเอง สำหรับยุคนี้ นั้น ถือเป็นการก้าวผ่านจากยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่ได้มุ่งเน้นไปที่การทำงานของระบบอัตโนมัติเป็นหลัก สู่การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างมนุษย์ และเครื่องจักรผ่านระบบอัจฉริยะ วันนี้ OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP จะพาไปทำความเข้าใจถึงบทบาทสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการยกระดับคุณภาพชีวิตสู่เมืองอัจฉริยะ

การพัฒนาสภาพแวดล้อมของเมืองอัจฉริยะนั้น จำเป็นต้องพึ่งพาปัจจัยหลายอย่าง ที่จะช่วยให้สามารถก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 5.0 อาทิเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), ระบบผสานการควบคุมทางกายภาพกับระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน (cyber-physical systems), โมเดลการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์ และเครื่องจักร (human-machine collaboration models) , การมุ่งเน้นถึงความยั่งยืน และการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (data-driven operations)เป็นต้น ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว เมืองอัจฉริยะมีสภาพแวดล้อมและกรณีศึกษาที่สามารถใช้พัฒนา ทดสอบ และปรับปรุงโดยเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งเป็นรากฐานของยุคอุตสาหกรรม 5.0

ถึงแม้ว่า AI ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ความแม่นยำยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการประสบความสำเร็จ และยังมีอีกแรงที่ขับเคลื่อนความก้าวหน้าของ AI ได้แก่  การเพิ่มขึ้นของความพร้อมใช้งานของข้อมูลและการเพิ่มขึ้นของกำลังในการประมวลผล โดย Cloud Computing ถือเป็นรากฐานอันดับต้นของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงบริการและทรัพยากรต่างๆได้ทั่วโลก ซึ่งสำหรับเมืองอัจฉริยะ สมองส่วนกลางของ AI (Centralized AI brain) นั้นสามารถที่จะรับรู้ ทำความเข้าใจ และรวบรวมข้อมูลจากการเลียนแบบประสาทสัมผัสของมนุษย์ อาทิเช่น การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น และอุณหภูมิได้ เป็นต้น อีกทั้งยังเสริมด้วยโครงสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง ที่จะช่วยส่งต่อข้อมูลไปถึงสมอง AI (AI brain) เพื่อส่งเสริมให้เกิด “Smart Visibility” หรือ การรับรู้สถานการณ์แบบภาพรวม ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของพลเมืองได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อกำหนดของการใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ซึ่ง ระบบ AI ควรที่จะสามารถตรวจสอบ และตรวจจับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ พร้อมตอบสนองผ่านการวิเคราะห์ขั้นสูง รวมไปถึงการระบุความผิดปกติ และทำการแจ้งเตือน โดยปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่หลายแห่งกำลังให้ความสนใจกับการลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนา (R&D) เพื่อขยายขอบเขตการทำงานของ AI โดยมุ่งเน้นในการสร้างระบบอัจฉริยะที่มีศักยภาพสูงมากขึ้น ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้ อย่างเช่น การรับรู้ระยะไกล เพื่อการตัดสินครอบคลุม และขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในทุกขั้นตอนของการดำเนินการของเมือง เป็นต้น ซึ่งหลักการสำคัญของเมืองอัจฉริยะนั้นจะมีตั้งแต่

  • ออนไลน์ : การเชื่อมต่อและเข้าถึงบริการและข้อมูลออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลาสำหรับพลเมืองและการดำเนินงานของเมือง
  • AI อันดับแรก : ระบบAI ทำหน้าที่เสมือนสมองอัจฉริยะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล การดำเนินการอัตโนมัติ และการตัดสินใจในทุกฟังก์ชันของเมือง
  • ครอบคลุมทุกการเชื่อมต่อ : การเชื่อมต่อที่ไร้รอยต่อของเซ็นเซอร์ อุปกรณ์ ระบบ แพลตฟอร์ม และฐานข้อมูลทั่วเมืองผ่านการเชื่อมต่อIoT
  • โครงสร้างพื้นฐาน : ชั้นพื้นฐานสำคัญที่ประกอบด้วยเครือข่ายความเร็วสูง การประมวลผลบนคลาวด์ มาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความสามารถในการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
  • Digital Twin : การจำลองแบบ 3 มิติ ของทรัพย์สินทางกายภาพของเมืองเพื่อจำลอง ทำนาย และเพิ่มประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

ความเชี่ยวชาญด้าน Digital Twin : การจำลองเสมือนอย่างมีจุดมุ่งหมาย

แกนหลักของ Digital Twin ที่จะมีประสิทธิภาพได้นั้น ต้องเกิดจากวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน ข้อมูลที่แข็งแกร่ง การโคลนนิ่งเสมือนอย่างถูกต้อง และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย

โดยวัตถุประสงค์จะเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานทั้งหมดของ Digital Twin ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการวางแผนเมือง การปรับปรุงประสิทธิภาพของการดำเนินงาน หรือการยกระดับประสบการณ์ของพลเมือง ดังนั้น การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน จะเป็นแนวทางที่สำคัญ ในการรวบรวมข้อมูลจากระบบ sensor ที่มีอย่างแพร่หลายทั่วทั้งเมือง เพื่อนำมาออกแบบโลกความเป็นจริงได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ

ยิ่งไปกว่านั้น กระบวนการโคลนนิ่งได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การพัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถเรียนรู้จากข้อมูลและปรับปรุงประสิทธิภาพของตัวเองโดยไม่ต้องถูกเขียนโปรแกรมโดยตรง (Machine Learning)และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (advanced data analytics) เพื่อนำมาสร้างแบบจำลองเสมือนที่แม่นยำอย่างมากของทรัพย์สินและระบบในเมือง โดยแบบจำลองเหล่านี้จะเชื่อมต่อและปรับข้อมูลให้ตรงกันอย่างต่อเนื่องกับข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่กำลังไหลเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ

อีกทั้ง ในมุมมองด้านสภาพแวดล้อมเสมือน นักวางแผนเมืองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถจำลองสถานการณ์ต่างๆ โดยระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และประเมินแนวทางแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้ในโลกความเป็นจริง ซึ่งการวางแผนจำลองเหตุการณ์เสมือนของแต่ละเมืองไว้ก่อนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ

นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนยังเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้ให้บริการเทคโนโลยีต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น ซึ่งการทำงานร่วมกันนี้ช่วยให้ Digital Twin สามารถจับภาพความซับซ้อนที่จับต้องได้ และความละเอียดอ่อนของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จับต้องไม่ได้ที่มันสะท้อนได้อย่างแม่นยำ  โดยการร่วมมือกับผู้ให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้สามารถสร้างคุณค่ามหาศาลได้ในระหว่างกระบวนการนี้

ท้ายที่สุดแล้ว พลังของ Digital Twins เกิดจากการรวมกันอย่างเชี่ยวชาญของวัตถุประสงค์ ข้อมูล ความสามารถในการโคลนนิ่งจำลองเสมือน และเทคโนโลยีอัจฉริยะ เมื่อจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านความร่วมมือ แบบจำลองเสมือนเหล่านี้จะสามารถกระตุ้นการพัฒนาได้ในด้านการวางผังเมือง การจัดการทรัพยากร ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และประสบการณ์ของพลเมือง

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าหลักการต่างๆชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันและการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากแพลตฟอร์มต่างๆ ในการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

การแพร่ระบาดของ Covid-19 เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตั้งแต่การทำธุรกรรมแบบไร้เงินสด การโต้ตอบทางออนไลน์ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วน ซึ่งทำให้เป็นจุดกำเนิดของเมืองอัจฉริยะที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน จำเป็นต้องร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับพลเมือง นอกจากนี้ รองรับได้มากกว่า 50 ภาษา ได้ถูกพัฒนาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอัจฉริยะด้วยเช่นกัน โดยจะอำนวยความสะดวกและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการได้อย่างยั่งยืนครอบคลุมภาษาและวัฒนธรรมให้แก่พลเมืองอย่างหลากหลาย

อีกทั้ง ยังพัฒนาต่อยอดสู่ “Super Apps” รุ่นใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่รวบรวมตั้งแต่ข้อมูลส่วนบุคคล การยินยอมในการใช้ข้อมูล การจัดการสาธารณูปโภค และอื่นๆ ผ่านการรักษาความปลอดภัยด้วย Blockchain โดยระบบ AI ขั้นสูงจะช่วยยกระดับการประมวลผลบนคลาวด์ ให้สามารถขับเคลื่อนบริการอัจฉริยะของภาครัฐ ภาคการเงิน การขนส่ง การตอบสนองเหตุฉุกเฉิน และการพยากรณ์อากาศ การเรียนรู้และการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้โซลูชั่น AI เหล่านี้ มีความแม่นยำสูงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานผ่านการตรวจจับและป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก ส่วนใหญ่ได้ทำดำเนินออกแบบโครงการเมืองอัจฉริยะจำนวนมาก ในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก ผ่านการดำเนินงานบนระบบคลาว์และศูนย์บัญชาการ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป้าหมายโดยรวม คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ “City Intelligent Twin” ที่ผสานผสานโลกเสมือนและโลกความจริงเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน และนำไปสู่การพัฒนาบริการสาธารณะ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับทุกคน

สุดท้ายนี้ ในขณะที่เมืองอัจฉริยะ ยังคงพัฒนาให้เป็นห้องปฏิบัติการในชีวิตจริง ผู้นำทั้งหลายก็จะเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้พร้อมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 5.0 ในขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ทดสอบ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์ และ AI และกระบวนการ สำหรับสภาพแวดล้อมของเมืองในยุคถัดไป

เนื้อหาข้างต้นถูกรวบรวม โดย OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP โดยอ้างอิงจากข้อมูลจากคุณสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล CTO of Huawei Thailand Cloud Business  บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ภายในงาน TMA: Digital Dialogue 2024 และ Open Talk EP. 30 กับ ผศ.ดร. สรรพวัฒน์ จตุพัฒน์วรางกูร ตอน Transforming new way of Building Management with Digital Twin [Link]

บทความ โดย OPEN-TEC

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ :  อาทิตย์ 27 ตุลาคม  2567  12:00:00 เข้าชม 1897553 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

ข่าวบริจาค วันที่ 27 ม.ค.68 โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต รับมอบเงิน เพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์มะเร็งแห่งแรกของจังหวัดภูเก็ต “อาคารรังสีรักษา โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต”

27 มกราคม 2568 ชมรมกีฬาตกปลาภูเก็ต บริจาคเงิน จำนวน 100 … …