ปักกิ่ง, 18 ธ.ค. (ซินหัว) – ไม่นานนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เช่น การพัฒนาชนบท เศรษฐกิจชนบท การพัฒนาสีเขียว และตัวแทนจากบริษัทเหมิงหนิวกรุ๊ป (Mengniu Group) บริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมยักษ์ใหญ่ของจีนได้พบปะกันในกรุงปักกิ่ง เพื่อร่วมพิจารณาและทบทวนผลการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการผสานแนวปฏิบัติ และนโยบายด้านกลไกการชดเชย ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ากับกับกลไกการสร้างมูลค่าจากผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกรรมและปศุสัตว์ อย่างยั่งยืน
ฝ่ายบริการข้อมูลข่าวสารเศรษฐกิจจีน (China Economic Information Service) เผยแพร่รายงานวิจัยเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ และนโยบาย ในหัวข้อ ดังกล่าว รวมถึงรายงานเกี่ยวกับกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้เชี่ยวชาญร่วมตรวจสอบผลการวิจัย
คณะวิจัยกล่าวว่า รายงานฉบับแรก นำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับทฤษฎี นโยบาย กลไก รูปแบบ วิธีการ และแนวทางแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผสานระบบชดเชยด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ากับการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนรายงานฉบับที่สองได้รวบรวมตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติจากพื้นที่สำคัญ 6 แห่ง ได้แก่ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มณฑลกานซู่ มณฑลกุ้ยโจว มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) และมณฑลชิงไห่ และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ
จางจ้าวซิน นักวิจัยจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจชนบท สังกัดกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีนกล่าวว่ารายงานดังกล่าวนำเสนอแนวปฏิบัติและโมเดลใหม่สำหรับกลไกการชดเชยที่จะได้รับจากการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวทางการพัฒนาเกษตรกรรมและปศุสัตว์อย่างยั่งยืน พร้อมเสนอให้มีการวิจัยในประเด็นนี้ต่อไปในอนาคต
อวี๋เสี่ยวหลง ผู้อำนวยการ โครงการอาวุโสของเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาสีเขียวระหว่างประเทศภายใต้แผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI International Green Development Coalition : BRIGC) กล่าวว่ารายงานได้ลงรายละเอียดในเรื่องการสำรวจเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการชดเชยที่จะได้รับจากการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ในระบบนิเวศ เพื่อส่งเสริมการเกษตรกรรมและปศุสัตว์อย่างยั่งยืน
อนึ่ง โครงการวิจัยนี้เริ่มต้นด้วยการสนับสนุน จากมูลนิธิ เพื่อประโยชน์สาธารณะของกลุ่มบริษัทเหมิงหนิวกรุ๊ป ซึ่งดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์ และการกุศล เช่น การบรรเทาเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติ การฟื้นฟูชนบท การส่งเสริมโภชนาการ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(เรียบเรียง โดย Su Dan, Xinhua Silk Road, https://www.xinhuathai.com/silkroad/484451_20241219 , https://en.imsilkroad.com/p/343409.html)
TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ พฤหัสบดี 19 ธันวาคม 2567 11:45:59 เข้าชม : 1897553 ครั้ง