Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ “ปักกิ่งโมเดล” การให้บริการสายด่วน 12345 บทเรียน การจัดการเรื่องร้องเรียนของทางการปักกิ่ง

“ปักกิ่งโมเดล” การให้บริการสายด่วน 12345 บทเรียน การจัดการเรื่องร้องเรียนของทางการปักกิ่ง

3 second read
0
0
189

ในงานปักกิ่ง ฟอรัม 2024 (Beijing Forum 2024) ที่จัดขึ้น ระหว่าง วันที่ 18-19 ธันวาคม 2024 มีการนำเสนอบทเรียน การศึกษา และการพัฒนา “การตอบรับเรื่องร้องเรียนของประชาชนอย่างรวดเร็ว” ของกรุงปักกิ่ง เพื่อยกระดับการจัดการเมืองด้วยนวัตกรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

โดยการให้บริการรับเรื่องเรียนผ่านสายด่วน 12345 ของกรุงปักกิ่ง เริ่มขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1987 หรือเมื่อ 37 ปีก่อน ในปีแรกมีเจ้าหน้าที่ให้บริการเพียง 3 คน และมีโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียว จากนั้น ทางการปักกิ่งพัฒนาระบบสายด่วนอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาของผู้ร้องเรียนได้อย่างรวดเร็ว

การให้บริการของทางการปักกิ่งผ่านสายด่วน 12345 คือ เมื่อมีผู้ร้องเรียนผ่านสายด่วน 12345 เรื่องร้องเรียนนั้นจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาทันที และสุดท้ายผู้ร้องเรียนจะประเมินผลการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการนี้ ทำให้ผู้ร้องเรียนมีส่วนร่วม ในการกำกับดูแลการทำงานของหน่วยงานต่างๆ และยังทำให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับ ปรับปรุงคุณภาพบริการ ยกระดับการให้บริการประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ด้วยหลักการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตามแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ดังคำกล่าวที่ว่า “ให้ความสําคัญกับประชาชนเป็นอันดับแรก และรับใช้ประชาชน อย่างสุดหัวใจ”

ปัจจุบัน มีผู้อยู่อาศัยในกรุงปักกิ่งประมาณ 21 ล้านคน ในพื้นที่ กว่า 16,000 ตารางกิโลเมตร ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ทางการปักกิ่งแก้ปัญหาจากเรื่องร้องเรียนของประชาชนได้กว่า 97  % กว่า 150 ล้าน เรื่อง ใน 60 หมวด

ในแต่ละปี สายด่วน 12345 ได้รับเรื่องร้องเรียน กว่า 24 ล้าน ครั้ง เฉลี่ยวันละกว่า 65,000 ครั้ง มีทั้งเรื่องการขนส่ง การศึกษา สุขภาพ บ้านและที่ดิน การจ้างงาน การให้บริการในธุรกิจต่าง ๆ ปัจจุบันศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสายด่วน 12345 มีเจ้าหน้าที่ให้บริการจำนวน 1,710 คน ตลอด 24 ชั่วโมง ให้บริการในภาษาต่างประเทศ อีก 8 ภาษา  ได้แก่ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย สเปน อาหรับ ญี่ปุ่น และเกาหลี

ในการพัฒนาบริการสายด่วน 12345 ทางการปักกิ่งยังร่วมกับหลายหน่วยงาน ศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบสายด่วนของเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก อย่างต่อเนื่อง โดยในฟอรัมนี้ ยังมีการนำเสนอรายงาน และแลกเปลี่ยนมุมมองการประเมินบริการสายด่วนเมืองทั่วโลก และการจัดการบริการสายด่วน โดยศึกษาประสบการณ์ การดำเนินงาน และรูปแบบของสายด่วนของเมืองต่าง ๆ จากผู้ให้ข้อมูล จาก 20 เมือง ทั่วโลก ในเรื่องกระบวนการการทำงาน ระบบการจัดการกับเรื่องร้องเรียน การกำกับดูแลอัจฉริยะ และการตอบสนองกับเรื่องร้องเรียน  เช่นบทเรียนการให้บริการสายด่วนจาก นิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก และโตรอนโต ที่รวมบริการไว้ในแพลตฟอร์มเดียว อย่างครบวงจร

ผลจากการศึกษาและการนำเสนอในฟอรัมนี้ ทำให้ได้แนวทางในการกำกับดูแล การพัฒนาระบบการให้บริการสายด่วน ที่สามารถนำไปปรับใช้กับพัฒนาสายด่วน 12345 ของทางการปักกิ่ง และยังเป็นกรณีศึกษา “ปักกิ่งโมเดล” กับการให้บริการสายด่วน สำหรับผู้บริหารเมืองอื่น ๆ ต่อไป

บทความ : ประวีณมัย บ่ายคล้อย

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ  พุธ 25  ธันวาคม  2567  01:30:59 เข้าชม 1893522 ครั้ง

Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

‘ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล โบ๊ท โชว์’ ยกชั้น ภูเก็ตเมืองท่องเที่ยว ระดับโลก ดัน เงินสะพัด กว่า พันล้านบาท

งานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล โบ๊ท โชว์ (Thailand Inter … …