Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์ ลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ

บทวิเคราะห์ ลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ

4 second read
0
0
219

ในช่วงไม่กี่ปี ที่ผ่านมา ประเทศเศรษฐกิจหลัก รวมถึงประเทศพัฒนา และประเทศตลาดเกิดใหม่ ได้ลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคิดค้นกลไกการชําระเงินข้ามชาติใหม่ ลงนามข้อตกลงว่าด้วยสกุลเงินทวิภาคี และส่งเสริมความหลากหลายของการสำรองเงินตราต่างประเทศ

นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้นมา การครอบงําของดอลลาร์สหรัฐในระบบการเงิน และเศรษฐกิจโลก เป็นหัวใจสําคัญของระเบียบทางการเงินระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของลัทธิกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และการที่สหรัฐอเมริกาเรียกเก็บภาษี ในอัตราที่สูงกับประเทศเพื่อนบ้าน และคู่แข่ง ส่งผลให้สัดส่วนการชำระเงินค่าการค้าระหว่างประเทศ ด้วยสกุลเงินที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง เช่น ตั้งแต่เดือนมกราคม ปีนี้  อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ทําการค้าโดยตรงด้วยเงินรูปี และเดอร์แฮม

ขณะเดียวกัน ประเทศอาเซียน  ก็กําลังทดลองใช้สกุลเงินของประเทศตนในการค้าข้ามพรมแดน เดือนพฤษภาคม ปีนี้ ไทยและจีน ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างธนาคารประชาชนจีน และธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่น  และเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา เวียดนามและจีนได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างธนาคารประชาชนจีน และธนาคารกลางของเวียดนาม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการชําระเงินด้วยสกุลเงินของสองประเทศ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างสองประเทศ และการเชื่อมโยงการชําระเงินข้ามพรมแดนระหว่างสองประเทศ

หนังสือพิมพ์ United Daily News ของมาเลเซีย รายงาน ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดาโต๊ะ ซรี อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ระบุ ว่า สนับสนุนการใช้สกุลเงินของประเทศตนในการค้าระหว่างมาเลเซีย และอินเดีย นอกจากนี้ ธนาคารกลางของมาเลเซีย ก็ตกลงที่จะขยายการใช้สกุลเงินของทั้งสองประเทศ

นักวิเคราะห์ ชี้ ให้เห็น ว่า การใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้า และการลงทุนของประเทศอาเซียน เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และการเงิน และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือโดยตรงระหว่างประเทศในภูมิภาค กับประเทศอื่น ๆ ในโลก

ด้านภูมิภาคลาตินอเมริกา ก็มีหลายประเทศ มุ่งที่จะเลิกพึ่งพาเงินดอลลาร์ เช่นกัน เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา โบลิเวียได้เข้าร่วมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือเมอร์โคซูร์ (MERCOSUR) และวางแผนที่จะเข้าร่วม “ระบบการชําระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่น” ของเมอร์โคซูร์ระบบนี้ ช่วยให้ประเทศสมาชิกของเมอร์โคซูร์ สามารถชําระค่าการค้าทวิภาคี ด้วยสกุลเงินส่วนท้องถิ่นได้

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป ได้บรรลุข้อตกลงทางการค้ากับเมอร์โคซูร์ นักวิเคราะห์ ระบุ ว่า  เมื่อเผชิญกับภัยคุกคามของการขึ้นภาษีโดยรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป และเมอร์โคซูร์ต้องรวมตัวกัน เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต ในขณะเดียวกันก็บ่งบอกถึงการแข็งค่าของเงินยูโรในลาตินอเมริกา

เมื่อไม่นานมานี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา ระบุ ว่า หากประเทศบริกส์ (BRICS) ไม่เลิกแผนการสร้างสกุลเงินทางเลือกแทนดอลลาร์สหรัฐ สหรัฐอเมริกา ก็จะเรียกเก็บภาษี 100 % กับประเทศเหล่านี้

ประชาคมระหว่างประเทศ เชื่อว่า ดอลลาร์สหรัฐ ในฐานะสกุลเงินระหว่างประเทศ ควรมีบทบาทสําคัญในการรักษาความสงบเรียบร้อยของเศรษฐกิจ และการเงินโลก อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกา ได้เข้าควบคุมระบบการเงินโลกโดยการควบคุมการออกเงินดอลลาร์และอัตราดอกเบี้ย และใช้ข้อได้เปรียบนี้ในการสร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจต่อประเทศ และตลาดเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามสหรัฐอเมริกา การกระทำเช่นนี้เบี่ยงเบนไปจากจุดประสงค์ดั้งเดิมของการจัดตั้งระบบการเงินระหว่างประเทศ และทำให้เงินดอลลาร์ ซึ่งควรเป็นเครื่องมือสาธารณะกลายเป็นช่องทางของสหรัฐอเมริกา ในการครอบงํา และปิดล้อมทั่วโลก

ปัจจุบันในบริบทที่เศรษฐกิจโลก มีความไม่แน่นอนการชำระเงิน ด้วยสกุลเงินที่หลากหลาย นั้น เป็นกลยุทธ์ที่สําคัญในการปกป้องการค้าทวิภาคีจากความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และจะช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ  พุธ 25  ธันวาคม  2567  02:15:59 เข้าชม 1786592 ครั้ง

Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

‘ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล โบ๊ท โชว์’ ยกชั้น ภูเก็ตเมืองท่องเที่ยว ระดับโลก ดัน เงินสะพัด กว่า พันล้านบาท

งานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล โบ๊ท โชว์ (Thailand Inter … …