Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ บทวิเคราะห์ : สหรัฐอเมริกาใช้ “ภาษีศุลกากรเป็นไม้เด็ด” จะทำลายเศรษฐกิจโลก อย่างร้ายแรง

บทวิเคราะห์ : สหรัฐอเมริกาใช้ “ภาษีศุลกากรเป็นไม้เด็ด” จะทำลายเศรษฐกิจโลก อย่างร้ายแรง

5 second read
0
0
194

ตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา ได้เพิ่มความเข้มข้นของนโยบายปกป้องการค้า โดยเพิ่มกำแพงภาษีศุลกากรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อระเบียบเศรษฐกิจโลก และทำลายเสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโลก อย่างร้ายแรง

ตัวอย่าง เช่น เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกา ประกาศเก็บภาษีนำเข้าเหล็กกล้า และอะลูมิเนียมทั้งหมด ในอัตรา 25% และเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าบางประเภทจากสหภาพยุโรป แคนาดา และเม็กซิโก นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ยังตั้งกำแพงภาษีใหม่ต่อรถยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ ของจีน พยายามใช้มาตรการภาษีศุลกากร เพื่อยับยั้งการพัฒนาของคู่แข่ง

มาตรการจากลัทธิที่เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของสหรัฐอเมริกา ดังกล่าว ไม่เพียงแต่ทำลายระบบการค้าพหุภาคี ทั่วโลก และขัดต่อวัตถุประสงค์ขององค์การการค้าโลก (WTO) ในการลดอุปสรรคทางการค้า และแก้ไขข้อพิพาทผ่านการเจรจา และสร้างความท้าทายร้ายแรงต่อความน่าเชื่อถือขององค์การการค้าโลก เท่านั้น หากยังทำให้ความเชื่อมั่นในตลาดลดลง ธุรกิจต่าง ๆ ระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น และการเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง อีกด้วย ล่าสุด ดัชนีหุ้นสำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ลดลง อย่างมีนัยสำคัญ และค่าเงินมีความผันผวน ล้วนสะท้อนถึงความกังวลของนักลงทุนทั่วโลก ต่อการยกระดับข้อพิพาททางการค้า และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางเหมา หนิง โฆษก กระทรวงการต่างประเทศจีน เน้นย้ำ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า กำแพงภาษี และการสร้างอุปสรรคทางการค้าอื่น ๆ ไม่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใด ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจและการค้า ควรได้รับการแก้ไขโดยผ่านการเจรจา และการปรึกษาหารือกัน ไม่ควรปล่อยให้เศรษฐกิจโลก ต้องแบกรับผลกระทบ

ในยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานพึ่งพาอาศัยกัน การเพิ่มภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา นั้น ไม่เพียงแต่เพิ่มต้นทุนการผลิตของธุรกิจภายในประเทศ เท่านั้น แต่ยังบังคับให้บริษัทข้ามชาติ ต้องปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอน ในการผลิตเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น การที่สหรัฐอเมริกาเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตราสูง ทำให้บริษัทในสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายราคาสินค้าที่แพงขึ้น การกระทำเช่นนี้ ไม่เพียงแต่ล้มเหลวในการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา เท่านั้น แต่ยังเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อ และส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป อีกด้วย บทนำของหนังสือพิมพ์อาซาฮิ ชิมบุน (Asahi Shimbun) ของญี่ปุ่น ระบุ ว่า การก่อสงครามการค้าของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ทำให้วิสาหกิจ และผู้บริโภค ต้องเผชิญกับความสับสนวุ่นวาย และมีแต่จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และยุ่งเหยิงมากขึ้นอย่างแน่นอน

อีกด้านหนึ่ง นโยบายภาษีของสหรัฐอเมริกา ย่อมจะนำไปสู่การใช้มาตรการตอบโต้จากประเทศอื่น ๆ อาจจะทำให้สงครามการค้ารุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตัวอย่าง เช่น หลังจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กกล้า และอะลูมิเนียมจากสหภาพยุโรป สหภาพยุโรป ได้ตอบโต้ทันที โดยเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐอเมริกา เช่น สินค้าเกษตร และรถจักรยานยนต์ ฝรั่งเศส และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ๆ ยังเรียกร้องให้ใช้มาตรการตอบโต้ที่ “แข็งแกร่งที่สุด” เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน สงครามการค้าลักษณะนี้ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ ที่เกี่ยวข้อง แต่ยังเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับตลาดโลก ทำให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคธุรกิจ ลดลง และส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลก ต้องตกอยู่ในภาวะที่ซบเซา หนังสือพิมพ์ดิอีโคโนมิสต์ (The Economist) ของอังกฤษ ชี้ ว่า นโยบายการค้าที่ไม่แน่นอนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา กำลังบั่นทอนความน่าเชื่อถือของประเทศ และทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนข้ามชาติ ลดลง

ด้วยเหตุนี้ ผู้สันทัดกรณีจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ต่างเรียกร้องให้นานาประเทศ ใช้การเจรจา และความร่วมมือในการแก้ไขข้อพิพาททางการค้า แทนที่จะใช้มาตรการลัทธิการกระทำฝ่ายเดียว เพราะประวัติศาสตร์ ได้พิสูจน์หลายครั้งแล้ว ว่า สงครามภาษี และสงครามการค้า มีแต่จะนำทุกฝ่าย ไปสู่ความพ่ายแพ้ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ และรักษาระบบการค้าเสรีทั่วโลก เท่านั้น จึงจะสามารถทำให้เศรษฐกิจโลก มีเสถียรภาพ และพัฒนา อย่างยั่งยืน

เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ :  พฤหัสบดี  27  มีนาคม  2568  22:34:59 เข้าชม : 1895223 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

อบจ.ภูเก็ต มอบเงิน อุดหนุน โครงการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬามวลชน และนันทนาการ จ.ภูเก็ต “ภูเก็ตเกมส์”

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 เวลา 08.30 น. องค์การบริหารส่ … …