Home ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์ SX2024 ชวน รับมือกับภัยพิบัติ ชี้งานดีไซน์ช่วยโลกวิกฤต และคืนสมดุลให้ธรรมชาติ 

SX2024 ชวน รับมือกับภัยพิบัติ ชี้งานดีไซน์ช่วยโลกวิกฤต และคืนสมดุลให้ธรรมชาติ 

31 second read
0
0
156

SX 2024 จัดเสวนา Design for Climate Adaptation: ออกแบบเพื่อปรับตัวเมื่อโลกวิกฤต” ชวนผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ พูดคุยเรื่อง การออกแบบ เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ลดความเสี่ยง และความรุนแรงของผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้น โดยได้รับเกียรติ จาก คุณชุตยาเวศ สินธุพันธุ์ Chief Sustainability Officer สถาบันเกษตรกรรมและสถาปัตยกรรมธรรมชาติเพื่อระบบนิเวศเมือง และชนบท (NAATURE) คุณวิภาวี คุณาวิชยานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Design for Disasters Foundation (D4D) ดร. พลพัฒน์ นิลอุบล หัวหน้าศูนย์วิจัย Water Adaptation Innovation Center (WAIC) ร่วมแสดงความคิดเห็น

คุณวิภาวี คุณาวิชยานนท์ เล่าว่า Butterfly Effect หรือปรากฏการณ์ผีเสื้อขยับปีกสามารถเกิดขึ้นจริงเมื่อหลายปีก่อนเกิดสึนามิสูงถึง 200 เมตรที่กรีนแลนด์ยาวนานถึง 9 วัน 9 คือ เพราะภูน้ำแข็งที่ห่างออกไปละลายยิ่งไปกว่านั้นมนุษย์อาศัยอยู่บนชั้นเปลือกโลกบาง ๆ ที่ลอยอยู่บนแมกม่า ทำให้ทุกสิ่งล้วนส่งผลกระทบต่อกัน เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่หนึ่งก็สามารถส่งผลกระทบถึงพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป ปรากฏการณ์อย่างภูเขาระเบิด หากเกิดขึ้นในที่ที่ไม่มีคนก็ไม่เป็นไร แต่หากเราเลือกที่จะอาศัยอยู่ใกล้พื้นที่เสี่ยง เราก็ควรเตรียมความพร้อมและวางแผนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยใช้การออกแบบทั้งด้านสถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งกราฟฟิก ที่ใช้ในการสื่อสารก็สามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือวิกฤตต่าง ๆ ได้ ยกตัวอย่างการออกแบบบ้าน ในอดีตของชุมชนท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่สร้างบ้านจากไม้ไผ่ทำให้ลอยน้ำได้ และผูกบ้านไว้กับเสาสี่ด้านเพื่อไม่ให้บ้านหลุดลอยไปเมื่อน้ำขึ้น ในยุคปัจจุบันมีตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นที่สร้างกำแพงกันคลื่นสูงถึง 12 เมตร แต่ยังไม่สามารถกั้นสึนามิได้จนต้องสร้างให้สูงอีกเป็น 15 เมตร

คุณวิภาวี เปรียบสังคมเป็นขวดโหลที่ใส่หินหลายขนาดไว้ หินก้อนใหญ่เปรียบเหมือนภาครัฐ ประชาชนเป็นหินก้อนเล็กที่เข้ามาเป็นส่วนเสริม ช่วยกันใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากเรารู้เหตุปัจจัยทำให้ภัยพิบัติเกิดขึ้น เราก็สามารถบริหารจัดการได้ แต่เราต้องไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น เมื่อได้รับคำถามว่านักออกแบบหรือศิลปินจะสร้างความสามารถในการปรับตัวอย่างไร คุณวิภาวี กล่าวว่า “ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งและนักออกแบบ เราต้องรู้ว่าสิ่งที่สำคัญและสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตมีความแตกต่างกัน แล้วเราจะเลือกอะไรในเวลาที่เรามีทรัพยากรที่จำกัด ในเวลาที่จำกัด ศิลปะคือการใช้ชีวิต การเลือกของเราในแต่และวัน การออกแบบคือการตัดสินใจ ไม่ว่าเราจะเดินไปไหน เราก็ต้องตัดสินใจแล้ว เราควรทำอย่างมีสติและเรียงลำดับความสำคัญ และความจำเป็น”

ดร. พลพัฒน์นิลอุบล กล่าวว่า “เมื่อโลกประสบภัยพิบัติมากขึ้น ทุกคนพูดถึงคำว่าว่าResilience” หรือความสามารถในการฟื้นตัวและสร้างภูมิคุ้มกัน แต่เรามักมีคำถามว่าเราควรปรับตัวที่ไหน เมื่อใด และอย่างไร หากเรามองการแก้ปัญหาในภาพรวม เวลารัฐบาลแก้ปัญหาจากด้านบน มักเป็นการมองภาพใหญ่ และลงทุนในโครงการที่ใช้เม็ดเงินมากและระยะเวลาในการดำเนินการนาน เช่น การสร้างอุโมงค์ยักษ์เพื่อระบายน้ำท่วม จาก ด้านล่างประชาชนก็ปรับตัวในแบบAutonomous Adaptationเช่น การดีดบ้านให้สูงขึ้น แต่สุดท้ายแล้วปัญหาน้ำท่วมยังคงอยู่และกลับมาทุกปี”  ดร. พลพัฒน์ จึงชวนทุกคนมองความเป็นไปได้ในการพัฒนาจากตรงกลาง ได้แก่ การร่วมมือกันเป็นกลุ่มก้อน หรือ Opportunistic Adaptation และนำ Building Lifecycle มาเป็นแนวทางในการออกแบบว่าเราควรปรับตัวที่ไหน เมื่อใด และอย่างไร

เรามองความเสื่อมเป็นการทำให้ใหม่เพื่อปรับตัว ขอยกตัวอย่างเขตลาดกระบัง เราสำรวจอายุและความเสื่อมของถนนและอาคารต่าง ๆ และมองเห็นว่าอาคารไหนหรือถนนใดกำลังหมดอายุ เราสามารถทำนายไปอีก100 ปีข้างหน้าว่าเราจะสามารถเข้าไปปรับปรุงพื้นที่ตรงไหน และเมื่อใดบ้าง ทำให้สามารถเลือกใช้โซลูชันที่เหมาะสม โดยดูตัวอย่างการพัฒนาจากทั่วและเลือกดซลูชันที่มีความยืดหยุ่นมาปรับใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ของเรา” ดร. พลพัฒน์ ยังได้ยกตัวอย่างโครงการ  Flood Adaptation จากทั่วโลกที่นำการออกแบบมาพัฒนาพื้นที่ติดแม่น้ำและแหล่งน้ำ สร้างเป็นสวนหรือพื้นที่สาธารณะที่สามารถใช้สอยเป็นสวนสาธารณะ หรือแม้แต่พื้นที่เช่าสำหรับห้างร้านในฤดูแล้ง แต่สามารถปล่อยให้น้ำท่วมได้ในฤดูที่มีน้ำหลาก

สำหรับการเป็นสถาปนิกและดีไซเนอร์ เราเป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงชุมชนและผู้มีส่วนในการตัดสินใจ หากสามารถทำให้สองกลุ่มนี้เห็นภาพร่วมกันว่าอนาคตของเมืองและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นอย่างไร เราจะสามารถจูงใจให้ทุกคนเข้ามาลงมือทำและร่วมกันปรับตัวเพื่อเมือง” ดร. พลพัฒน์ สรุป

คุณชุตยาเวศ สินธุพันธุ์ อธิบายว่า Climate Change หรือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศเป็น                           การเปลี่ยนแปลงระยะยาวที่จะอยู่กับเราต่อไป และจะนำไปสู่ความยากจนและการผลัดถิ่นมากขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก ตอนนี้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น  2 องศา เร็วกว่าที่คาดไว้กว่าร้อยปี ด้วยการพัฒนาของมนุษย์ คุณชุตยาเวศ เน้นย้ำว่า ธรรมชาติถูกเสมอเพราะมอบหน้าที่ให้ทุกสิ่งระบบนิเวศวิทยา เพื่อรักษาสมดุลให้คงอยู่ต่อ ยกตัวอย่างการค้นพบของชาลส์ ดาร์วินที่พบดอกกล้วยไม้ ซึ่งมีกระเปาะเก็บน้ำหวานยาวกว่า 20 เซนติเมตร ณ มาดากัสการ์ ทำให้เขาตั้งสมมติฐานว่าต้องมีแมลงที่สามารถใช้ประโยชน์จากกระเปาะนี้ หลังผ่านไปกว่าร้อยปีจึงมีการค้นพบผีเสื้อกลางคืนที่มีจมูกยาวสามารถดูดน้ำหวานได้ตามที่ชาลส์ ดาร์วินคาดเดา ในป่าของไทยก็มีกระทิงซึ่งมีหน้าที่คอยเล็มหญ้า และมีเสือที่ล่ากระทิง เพื่อกันควบคุมปริมาณกระทิงไม่ให้เล็มหญ้าและพืชพรรณต่าง ๆ มากเกินไป

สิ่งที่เกิดขึ้น ตอนนี้ คือ ธรรมชาติพยายามทำให้สมดุลกลับคืนมา มนุษย์ตัดป่า เพื่อทำการเกษตร ทำประมงน้ำลึกที่ทำความเสียหายต่อพื้นทะเล สร้างเมืองใหญ่ตรงปากแม่น้ำ ที่ควรเป็นพื้นที่น้ำท่วม และมีการตกตะกอน ทุกคนควรเรียนรู้จากธรรมชาติและนำมาออกแบบเมือง หรือรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่ฝืนธรรมชาติ เช่น ในอดีต โครงสร้างเมืองมักเป็น Organic Shape คล้ายลายใบไม้ เพราะคนสมัยก่อนดูบริบทของพื้นที่ก่อนลงหลักปักฐาน คุณชุตยาเวศยกตัวอย่างมดที่เกาะกันเป็นแพจนสามารถลอยน้ำได้ เราสามารถนำแรงบันดาลใจตรงนี้มาสร้างเมืองลอยน้ำ และมอบหมายหน้าที่ให้คนแต่ละกลุ่มในเมือง เช่น ดูแลสวนที่สร้างอาหาร สร้างพลังงาน และบำบัดของเสีย การเคหะแห่งชาติของไทยก็ได้ทดลองออกแบบและสร้างบ้าน สะเทินน้ำสะเทินบก หรือ Amphibious House ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วม ทุกปี

คุณชุตยาเวศ กล่าวว่า การคืนสมดุลให้ธรรมชาติ ต้องสนับสนุนธรรมชาติให้ธรรมชาติรักษาตัวเอง “ประเทศไทยเรามีตัวอย่างการฟื้นฟูป่าโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ที่ฟื้นฟูป่าโดยการพัฒนาคน ให้คนมาดูแลป่าและไม่กลับมาทำลายป่า เรามีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สอนให้รู้จักประมาณตนเอง ขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยเหตุผลและคุณธรรม เป็นทางสายกลางของการพัฒนาที่ไม่ฝืนธรรมชาติ” 

ผมคิดว่า การพัฒนาต้องเริ่มจากตัวเรา เมื่อก่อนผมบ้ารถยนต์มาก เคยมีรถเกือบ30 คัน ณ ปัจจุบันผมใช้รถมือสองของคุณป้าคันเดียวซึ่งอายุประมาณ20 ปี แล้ว แต่ผมยังใช้ไม่ถึงแสนกิโลเมตรเพราะผมตัดสินใจว่า การขี่จักรยานในเมืองเป็นสิ่งที่ทำได้ ไม่ว่าเราเป็นใครหรือเราเป็นอะไร ผมอยากให้เริ่มที่ตัวเราเองก่อน ถ้าเราอยากทำให้เมืองดีขึ้น ถามตัวเองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เมืองดีขึ้นแล้วหรือยัง อย่าไปเป็นคนที่บอกคนอื่นว่าควรทำอะไร เราควรจะทำเองก่อน”

ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหว รวมถึงกิจกรรมของ Sustainability Expo (SX)  ได้ที่ Facebook Page : Sustainability Expo, และแอดไลน์ @sxofficial

TAG : 0 0 Google +0 เขียนเมื่อ :  อาทิตย์ 10 พฤศจิกายน 2567  12:34:59 เข้าชม : 1587299 ครั้ง

Load More Related Articles
Load More By admin
Load More In ที่ปรึกษากฎหมาย โดย ทนาย สุนทร พยัคฆ์
Comments are closed.

Check Also

อบจ.ภูเก็ต ร่วมให้ข้อมูล เพื่อการประเมินศักยภาพของ จ.ภูเก็ต ในการพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยว โดย องค์กรการท่องเที่ยวยั่งยืนโลก

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา นายอานุภาพ เวชว … …